external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

test kat

11 ม.ค. 2567

ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งแวดล้อมภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องใช้แหล่งวัตถุดิบจากธรรมชาติและการเกษตร ได้เวลาแล้วที่จะต้องเปิดประตูสู่ยุคอาหารอนาคตเพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ครั้งนี้ finbiz by ttb ขอนำเสนอข้อมูลในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ SME ใช้เป็นแนวทางประกอบในการดำเนินธุรกิจ


เราคือ “ครัวโลก ที่มีจุดแข็งสำคัญ


ประเทศไทยมีจุดแข็งคือ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ ส่งให้ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็น “ครัวของโลก” (Kitchen of the World) ที่มีความโดดเด่น ดังนี้


“เราคือ...อันดับที่ 14 ของโลก”

ในปี 2022 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการส่งออกเป็นอันดับที่ 14 ของโลก คิดเป็นสัดส่วน 2.6% และเป็น อันดับที่ 4 ของเอเชีย เป็นรองแค่จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และอันดับที่ 2 ของอาเซียน เป็นรองเพียงอินโดนีเซียที่มีทรัพยากรที่มากกว่า เมื่อเทียบสัดส่วนของพื้นที่และประชากรแล้ว ไทยยังจัดว่าสามารถบริหารจัดการได้ดี


“เรามี...สินค้าส่งออกที่สำคัญ”

ไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญลำดับต้น ๆ ของ 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่

  1. ข้าว
  2. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ประเทศคู่ค้ารายใหญ่คือจีนและไต้หวัน
  3. น้ำตาล มีอินโดนีเซียเป็นคู่ค้าหลัก
  4. ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก
  5. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป


“เรามี...ตลาดคู่ค้าส่งออกที่เข้มแข็ง”

  • 27% ประเทศกลุ่มอาเซียน ข้าวเป็นสินค้าหลัก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คน แต่ละประเทศยังนำเข้าข้าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร คนอาเซียนติดหวาน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จึงนำเข้าน้ำตาลทรายจากไทย รวมทั้งเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และอาหารสัตว์เลี้ยงที่เติบโตอย่างโดดเด่น
  • 20% ประเทศจีน สินค้าหลัก ๆ คือผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เช่น ทุเรียน มังคุด ตลอดจนไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ข้าว ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
  • 11% ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นว่าจ้างไทยผลิตไก่แปรรูปและติดแบรนด์ญี่ปุ่น รวมทั้งอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และข้าว สะท้อนว่าสินค้าไทยมีมาตรฐานการผลิตที่สากลยอมรับ
  • 8% ประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าหลักคืออาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป รวมทั้งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง


3 โอกาสใหม่ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม


โครงสร้างของอุตสาหกรรมอาหารของเมืองไทยขับเคลื่อนด้วยผู้ประกอบการ SME มากถึง 98% การรู้ทันเทรนด์ก่อนจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้


1) โอกาสการส่งออกที่ต้องจับตา

  1. สินค้าอาหารฮาลาล ที่น่าจับตาที่สุดคือกลุ่มมุสลิมชาวจีนที่มีประชากรราว 30 ล้านคน
  2. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในตลาดเกาหลี เนื่องจากไทยมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติหลากหลาย โดยเฉพาะ รสจัด รสแซ่บ ที่แตกต่างออกไป นอกจากรสต้มยำแล้ว ยังมีรสชาติอื่น ๆ ที่เกาหลีสนใจ เช่น รสลาบ รสแกงส้ม
  3. ตลาดอินเดีย ที่มีประชากรสูงมากและนิยมดื่มชา ซึ่งขณะนี้กำลังมองหาชาผลไม้จากไทย ที่มีความแปลกใหม่ และ แตกต่าง


2) กลุ่มสินค้าอาหารดาวรุ่ง เป็นสินค้ามีการส่งออกอยู่แล้ว แต่กำลังมาแรงในช่วงปีที่ผ่านมา และจะแรงต่อไปในอนาคต เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด

  1. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพราะนอกจากจะให้แป้ง ยังมีไฟเบอร์ที่ดีต่อสุขภาพ สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้
  2. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ใช้ความได้เปรียบจากการเป็นประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร ที่มีความหลากหลายของพืชพันธุ์ ที่เป็นที่สนใจของตลาด
  3. ผลิตภัณฑ์ข้าว ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมาเป็นเวลานาน หากพัฒนาด้วยการใส่นวัตกรรมต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์จะสามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
  4. อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นสินค้าที่น่าจับตาสอดคล้องไปกับเทรนด์โลกที่การเลี้ยงสัตว์ได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึงความใส่ใจต่อสัตว์เลี้ยงที่มีมากกว่ายุคก่อน โดยเลี้ยงสัตวแบบเป็นสมาชิกครอบครัว ดังนั้น อาหารสัตว์เลี้ยงที่มีข้อได้เปรียบด้านราคาขาย และการเป็นสินค้าที่ไม่ควบคุมราคา
  5. เครื่องปรุงรสอาหาร ซึ่งระยะหลังเครื่องปรุงรสอาหารมีการส่งออกไปเวียดนามจำนวนมาก เป็นตลาดที่น่าจับตาและให้ความสนใจเพิ่มขึ้น


3) อาหารอนาคต เป็นความหวังใหม่ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และยังเป็นตลาดใหม่ที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นเทรนด์ในอนาคตที่จะต้องก้าวต่อไป

ปัจจัยส่งผลต่อโอกาสของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของไทย
ปัจจัยบวก ปัจจัยเสี่ยง
  • ความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้า อาหารไทยมีมาตรฐาน ควรดูว่าตลาดที่จะส่งออกต้องการมาตรฐานอะไร
  • การฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะใช้เงินเพื่อการบริโภคอาหารในบ้านเรา
  • การส่งเสริมการตลาดอาหารไทยของภาครัฐ ด้วยการพาผู้ประกอบการไปโปรโมตสินค้า
  • พื้นฐานความเป็นภาคเกษตรกรรม และเป็นเจ้าของวัตถุดิบ ทำให้ได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต
  • การทำข้อตกลงการค้ากับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เช่น FTA ช่วยลดภาษีแก่ผู้ประกอบการส่งออกได้
  • การขยายตลาดใหม่
  • การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
  • ต้นทุนการทำธุรกิจที่สูงขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ กระทบต่อผลผลิตภาคเกษตรกรรม
  • ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ กระทบต่อการนำเข้าและส่งออก
  • มาตรการกีดกันทางการค้า เช่น จะส่งออกไปอินโดนีเซีย สินค้าต้องมีมาตรฐานฮาลาล
  • ลักษณะตลาดเป็น SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก


“อาหารอนาคต” คือ อะไร ทำไมจึงเป็น ความหวังใหม่ ของอุตสาหกรรมอาหารไทย


ปัจจุบันมีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นในธุรกิจอาหารคือ อาหารอนาคต (Future food) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด ความยั่งยืน (ESG) ผู้บริโภคมีความตระหนักรับรู้เรื่องนี้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพและดีต่อโลกมากขึ้น

คุณสมบัติของอาหารอนาคต ประเภทของอาหารอนาคต ตลาดที่น่าสนใจ
  1. ปลอดภัยต่อการบริโภค ดีต่อสุขภาพ
  2. ตรวจสอบย้อนกลับได้
  3. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  1. อาหารฟังก์ชัน เป็นอาหารที่มีหน้าที่ชัดเจนเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น น้ำผสมวิตามินซี อาหารใส่ไข่โอเมก้า อาหารที่ทำจากพืช เบส (Plant based)

  2. อาหารใหม่ (Novel food) คืออาหารที่มีการนำมาบริโภคเป็นวงกว้าง น้อยกว่า 15 ปี เช่น โปรตีนแมลง

  3. อาหารอินทรีย์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อย
  • สหรัฐอเมริกา
  • เวียดนาม
  • จีน
  • เมียนมา
  • กัมพูชา

ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกอาหารPlant based ไปยังสหรัฐอเมริกาและเวียดนาม


ประเทศไทยมีแผนส่งเสริมอาหารแห่งอนาคต เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้สอดคล้องกับ BCG โมเดล โดยอาหารอนาคตช่วยสร้างความยั่งยืน ตอบโจทย์ความต้องการของโลก และสามารถเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม


มูลค่าตลาดอาหารอนาคต ในปี 2023 ไทยได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกอาหารอนาคตไว้ที่ 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยครึ่งปีแรกสามารถทำมูลค่าไปได้ 1,882.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


พฤติกรรมผู้บริโภคปี 2023-2026 ผู้บริโภคต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพ ความปลอดภัยของอาหาร สินค้าที่มีนวัตกรรม หรืออาหารที่ช่วยจิตใจ ให้ความสำคัญด้านความยั่งยืน ใส่ใจเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ก็ต้องการความสะดวกสบาย อาหาร ready-meal, ready to eat, ready to cook จึงเติบโตดี และสินค้าต้องมีความคุ้มค่าทางราคาด้วย


เทรนด์อาหารและเครื่องดื่มโลกปี 2024

 

เปิดประตูสู่ยุคอาหารอนาคตช่วยโลกและธุรกิจเติบโตยั่งยืน finbiz hack 2023

  1. Cultivated Meat เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงหรือเนื้อเทียม
  2. Precision Fermentation การหมักเพื่อผลิตโปรตีนนม
  3. Mushroom ธุรกิจจากสารพัดเห็ด
  4. Algae ธุรกิจอาหารจากสาหร่าย
  5. Precision Nutrition อาหารที่พัฒนาตามโภชนาการหรือยีนส์เฉพาะบุคคล
  6. Functional Beverage เครื่องดื่มเสริมอาหาร ที่ประเทศไทยเริ่มพัฒนาขึ้นมามาก
  7. Next Generation Sweeteners ทางเลือกใหม่ ๆ ที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล แต่ต้องดีต่อสุขภาพ
  8. Upcycling การนำส่วนประกอบของวัตถุดิบหรืออาหารต่าง ๆ ที่สูญเปล่าเปลี่ยนกลับมาเป็นอาหารใหม่อีกครั้ง
  9. AI for everything บนสินค้าจะต้องแสดงแหล่งที่มา มีข้อมูลให้สามามารถดูประโยชน์ทางโภชนาการหรือการตรวจสอบย้อนกลับได้ อาจให้เป็นข้อมูลบน QR CODE
  10. Smart Kitchen Tech สื่อสารกับห้องครัวหรือเครื่องครัวได้ผ่านเทคโนโลยี ช่วยให้การทำอาหารง่ายขึ้น
  11. Non-Alcoholic Beverage ตอบโจทย์กลุ่มคนชอบสังสรรค์แต่ยังให้ความสำคัญด้านสุขภาพ
  12. Smart Packaging บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะที่ช่วยยืดอายุอาหารในบรรจุภัณฑ์
  13. Decentralized Production การกระจายแหล่งผลิตเพื่อลดต้นทุน และรักษาคุณภาพ
  14. Agriculture 2.0 เช่น ระบบการเพาะปลูกในแนวตั้ง อิงกับกระแส ESG
  15. Tech Powered Supply Chain Transparency การตรวจสอบย้อนกลับได้ของซัพพลายเชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน


ที่มา :

  • คุณรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย
    จาก งานสัมมนา finbiz industry hack 2023 ติดอาวุธ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม…สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดย finbiz by ttb

finbiz by ttb

โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน


อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME