อีกหนึ่งสิ่งสำคัญ สำหรับมนุษย์เงินเดือนในช่วงสิ้นปี 2566 ที่ต้องจัดการคือเรื่อง “การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” เพราะเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษี เพื่อแสดงรายได้ทั้งปีของเราที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปีที่ผ่านมา เราลองมาดูกันว่า ถ้ามีเงินเดือนหรือรายได้เท่านี้ เราจะต้องเสียภาษีปี 2566 เท่าไหร่กันบ้าง ?
วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. คำนวณหาเงินได้สุทธิ
อย่างแรกเราต้องคำนวณหาเงินได้สุทธิเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณภาษีก่อน โดยคำนวณจากการนำเงินได้ทั้งปี 2566 มารวมกัน แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ตามสูตร
เงินได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
ซึ่งเราสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนค่าลดหย่อน จะมีอยู่หลายรายการที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ แต่ที่เราสามารถนำมาลดหย่อนได้ทันทีเลย ก็คือ ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าประกันสังคมตามที่จ่ายจริง สูงสุด 9,000 บาท
2. คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบขั้นบันได
ต่อมาให้นำเงินได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ตามสูตร
ภาษี = [(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ]+ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า
ตัวอย่าง นายทีมีรายได้ทั้งปี 500,000 บาท ไม่มีตัวช่วยลดหย่อนเพิ่มเติมเลย จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนจากประกันสังคม 9,000 บาท
จะได้เงินได้สุทธิ 500,000 - 100,000 - 60,000 - 9,000 เท่ากับ 331,000 บาท จากนั้นนำเงินได้สุทธิไปเทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งจะอยู่ระหว่างฐาน 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% ซึ่งทำให้นายทีต้องเสียภาษี (331,000 - 300,000) x 10% + 7,500 เท่ากับ 10,600 บาท
จะเห็นได้ว่า นายทีมีรายได้ทั้งปีสูงถึง 500,000 บาท แต่ถ้าไม่มีตัวช่วยลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมเลย จะทำให้นายทีต้องเสียภาษีถึง 10,600 บาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่เยอะพอสมควร
ตัวอย่าง มนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีตัวช่วยลดหย่อน ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ?
จากตัวอย่างข้างต้น มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือน 30,000 บาท 50,000 บาท และ 100,000 บาท หากไม่มีตัวช่วยลดหย่อนเพิ่มเติม จะทำให้เสียภาษี 2,050 บาท 20,600 บาท และ 122,750 บาท ตามลำดับ แต่ถ้าต้องการเซฟเงินในกระเป๋ามากกว่านี้ ttb advisory มีทริคดี ๆ ที่เรียกได้ว่า “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว” มาแนะนำ เพราะนอกจากจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีปี 2566 ที่ช่วยให้ประหยัดภาษีแล้ว ยังสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี อย่างการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีจาก ทีทีบี ซึ่งมีให้เลือกทั้งกองทุนรวม SSF และ RMF อีกด้วย
1. RMF (Retirement Mutual Fund) คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
- ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
2. SSF (Super Savings Fund) คือ กองทุนรวมเพื่อการออม สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับ กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
โดยเรามีตัวช่วยลดหย่อนภาษี ที่ลงทุนง่าย สบายใจอย่าง ttb smart port SSF มาแนะนำกัน
กองทุนเปิด ttb smartport เพื่อการลดหย่อนภาษี หรือ ttb smartport SSF มีให้เลือกลงทุนตามเป้าหมายและตามความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ทั้งหมด 5 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring ที่คอยดูแลบริหารจัดการพอร์ตให้อย่างใกล้ชิด ปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือนเพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด ทำให้เรื่องการวางแผนการเงินเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp
และหากใครยังเลือกไม่ได้ ไม่รู้จะลงทุนกองไหนดี เราคัดกองทุนลดหย่อนภาษีเด่น สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาให้แล้ว โดยมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายให้เลือกทั้ง SSF RMF กับกองเด่นลดหย่อนภาษี ปี 2566 จากทีทีบี
หากสนใจเปิดบัญชีกองทุน และลงทุนกองทุนรวม / กองทุนลดหย่อนภาษี สามารถทำรายการด้วยตนเองผ่านแอป ttb touch หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
โปรโมชันกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2566
ซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF/ SSF ของ บลจ. 5 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน หรือโอนกองทุน LTF จาก บลจ. อื่นเข้ากองทุน LTF ของ บลจ. 4 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน (ยกเว้น ONEAM) ทุก ๆ 50,000 บาท ของการลงทุนในแต่ละ บลจ. จะได้รับเงินลงทุนเพิ่มในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท (ตาม บลจ. ที่ได้ลงทุน) ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 29 ธันวาคม 2566 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/rmf-ssf-2023
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปใช้ซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว