external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ทางเลือกการลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศ ฉบับเข้าใจง่าย

6 มิ.ย. 2566

ทุกวันนี้โลกเปิดกว้าง มีการลงทุนใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ช่วยให้เราสามารถกระจายเงินลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศแบบง่ายดายกว่าเดิม ซึ่งการลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศนอกจาก กองทุนรวม ที่น่าสนใจ ก็ยังมีผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ อย่าง “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” หรือ “ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศ” ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม และหลายคนให้ความสนใจกันมาก

คำถามคือถ้าเราอยากเริ่มต้นลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศ แต่ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ กังวลกับความซับซ้อน และความผันผวนของค่าเงิน จนรู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก วันนี้เรามี FinTips ดี ๆ สรุปทุกเรื่องที่ทุกคนสงสัยมาให้เข้าใจกันแบบง่าย ๆ


ทำความเข้าใจ “เงินแข็งค่า เงินอ่อนค่า”

ก่อนอื่นอยากจะปูพื้นฐานเพื่อให้เข้าใจกันก่อนว่า ค่าเงินแข็งค่า ค่าเงินอ่อนค่า แปลว่าอะไร แล้วอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ทำความเข้าใจ “เงินแข็งค่า เงินอ่อนค่า”

  • เงินอ่อนค่า แปลว่าสกุลเงินของประเทศนั้นมีมูลค่าลดลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ ทำให้ใช้เงินเท่าเดิมแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้น้อยลง
    เช่น ในอดีต 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 30 บาท แต่ในปัจจุบัน 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับ 35 บาท แบบนี้แสดงว่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
  • เงินแข็งค่า แปลว่าสกุลเงินของประเทศนั้นมีมูลค่าสูงขึ้น เมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ ทำให้ใช้เงินเท่าเดิมแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้มากขึ้น
    เช่น ในอดีต 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 30 บาท แต่ในปัจจุบัน 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับ 25 บาท แบบนี้แสดงว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

สาเหตุที่ทำให้เงินแข็งค่าหรืออ่อนค่านั้นเกิดจากความต้องการในตลาด ถ้ามีความต้องการเงินสกุลนั้นมากขึ้นเงินก็จะแข็งค่า ในทางกลับกันถ้ามีความต้องการน้อยลงเงินก็จะอ่อนค่า ซึ่งมักจะสอดคล้องไปกับปัจจัยทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย การเติบโตของเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นต่อประเทศนั้น ๆ เป็นต้น

เมื่อเข้าใจความหมายกันดีแล้ว คราวนี้… ลองมารู้จักทางเลือกการลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศ กันเลยดีกว่า


หุ้นกู้อนุพันธ์แฝง คืออะไร ?

หุ้นกู้อนุพันธ์แฝง คืออะไร ?

หุ้นกู้อนุพันธ์แฝง (Structured note) คือ นวัตกรรมการลงทุนแบบไฮบริด ซึ่งเป็นตราสารการเงินที่ผสมผสานระหว่าง “หุ้นกู้” กับ “ตราสารอนุพันธ์” เข้าไว้ด้วยกัน โดยผลตอบแทนจะมาจาก 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือดอกเบี้ยที่คล้ายกับหุ้นกู้ทั่วไป

ส่วนที่สองคือราคาของตราสารอนุพันธ์ที่ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิงชนิดต่าง ๆ เช่น ดัชนีราคาหุ้น หุ้นรายตัว ราคาน้ำมัน ราคาทอง รวมไปถึงสกุลเงินต่างประเทศนั่นเอง ทำให้มีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป แต่ก็แลกกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น หุ้นกู้อนุพันธ์แฝงที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ นักลงทุนจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากการขึ้นลงของสกุลเงินที่อ้างอิงตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ แต่อย่างไรก็ดี หากคาดการณ์ตลาดผิด ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนได้เช่นกัน


จุดเด่นของหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงสกุลเงินต่างประเทศ

  • ผลตอบแทนอ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ
  • สร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประจำ และตราสารหนี้ทั่วไป
  • เป็นทางเลือกการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงในสภาวะตลาดที่หลากหลาย
  • สามารถออกแบบความเสี่ยงและผลตอบแทนให้สอดคล้องกับมุมมองของแต่ละคน


หุ้นกู้อนุพันธ์แฝงสกุลเงินต่างประเทศ เหมาะกับใคร

  • มีภาระค่าใช้จ่ายหรือรายรับที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ
  • มีบัญชีสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Account : FCD)
  • มีมุมมองและความเข้าใจต่อทิศทางอัตราแลกเปลี่ยน
  • ต้องการโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น


หุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศ คืออะไร ?

หุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศ คืออะไร ?


หุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศ (Foreign currency bond) คือ หุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เช่น สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และสกุลเงินเยนญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งจะออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ หรือบริษัทในต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือสูง

ถือเป็นทางเลือกการลงทุนสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอและสูงกว่าเงินฝาก พร้อมทั้งสามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ จึงเหมาะกับคนที่คุ้นเคยกับการใช้จ่ายผ่านสกุลเงินตราต่างประเทศอยู่แล้ว เช่น ค่าชอปปิง ค่าเทอมลูก รวมถึงมีเงินลงทุนในต่างประเทศ


จุดเด่นของหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศ

  • สร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก
  • เป็นแหล่งรายได้ที่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ได้
  • ช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุน


หุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศ เหมาะกับใคร

  • มีรายรับหรือรายจ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ
  • มีบัญชีสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Account : FCD)
  • เป็นนักลงทุนระดับ High Net Worth

สรุปแล้วจะเห็นว่าการแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนกับสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินต่างประเทศ มีข้อดีหลากหลาย ทั้งเป็นการกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุน ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนรูปแบบใหม่ ๆ ที่สูงขึ้น ช่วยต่อยอดความมั่งคั่ง เพื่อนำมาสู่ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

รู้ไหมว่านอกจากการลงทุนในกองทุนรวมที่น่าสนใจซึ่งเป็นตัวช่วยที่หลายคนนิยม ทีทีบี ยังมีโซลูชันการลงทุนและการทำธุรกรรมสกุลเงินต่างประเทศมาแนะนำ ช่วยให้คุณจัดการทุกธุรกรรมสกุลเงินตราต่างประเทศได้สะดวก ปลอดภัย ทั้งยังช่วยกระจายความเสี่ยง ตอบโจทย์สภาวะที่ตลาดผันผวน สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี เพื่อต่อยอดความมั่งคั่งของคุณอีกด้วย

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม https://www.ttbbank.com/th/ttb-reserve/investment-solution-and-foreign-currency/foreign-transaction

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ที่ปรึกษาทางด้านการเงินและการลงทุนของท่าน
หรือโทร. 02-676-8000


คำเตือน :
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะของสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน /การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทำให้ราคาของ ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ /ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องก่อนทำการลงทุน/ ผู้ลงทุนมีความจำเป็นในการขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน


หมายเหตุ :
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย iรวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, investopedia