external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

How to เก็บเงินแยกบัญชีแบบง่ายๆ ฉบับมนุษย์เงินเดือน

18 พ.ค. 2566

ปัญหาส่วนใหญ่ที่มนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คนมักพบเจอในแต่ละเดือนคงหนีไม่พ้นในเรื่องของ การใช้เงินเดือนชนเดือน บางเดือนแทบไม่พอใช้ และด้วยยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยีที่การชอปปิงอยู่เพียงแค่ปลายนิ้ว บางทีการอยู่บ้านก็สามารถทำให้เราเสียเงินกับการซื้อของออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย มันยิ่งทำให้การเก็บเงินดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแค่เราต้องรู้จักควบคุมและจัดสรรค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนออกจากกัน เริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยเทคนิคที่ใครก็ทำได้ เพียงแค่ "แยกบัญชี" เท่านั้นเอง


4 บัญชีบริหารเงินเดือน

4 บัญชีบริหารเงินเดือน


การแยกบัญชี เป็นการแบ่งเงิน 1 ก้อนออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามจุดประสงค์ของเงินก้อนนั้น ๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 บัญชีหลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้

1. บัญชีเงินเดือน
เป็นบัญชีตั้งต้น เพื่อรับเงินเดือนหรือรายได้อื่น ๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นบัญชีค่าใช้จ่ายและบัญชีออมเงินร่วมด้วย เพราะจะทำให้เราจัดสรรเงินได้ยาก บางทีอาจจะใช้เงินเพลินจนไม่รู้ตัว

2. บัญชีเงินออม
หลังจากได้รับเงินเดือนแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำเลยคือการแบ่งเงินมาที่บัญชีเงินออมอย่างน้อย 10% ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อเก็บสะสมและเป็นการเริ่มต้นสร้างวินัยการออมด้วยการปรับพฤติกรรม “ออมก่อนใช้” ต่อจากนั้นก็มาจัดสรรบัญชีการออม หรือบัญชีกองทุนรวม โดยแบ่งการออมออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • เป้าหมายระยะสั้น เป็นเงินออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน 3-6 เท่า ของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น
  • เป้าหมายระยะกลาง เป็นเงินออมที่เก็บไว้เพื่อนำมาใช้ในช่วง 2-10 ปี เช่น ไว้เรียนต่อ ซื้อรถยนต์ แต่งงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น บัญชีฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
  • เป้าหมายระยะยาว เป็นเงินออมที่เก็บไว้เพื่อนำมาใช้ในช่วง 10 ปีขึ้นไป อย่างเช่นการเกษียณอายุ แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว เช่น กองทุนรวมตราสารทุน หุ้นพื้นฐานดี ประกันบำนาญ กองทุน SSF หรือกองทุน RMF เป็นต้น

3. บัญชีค่าใช้จ่าย
เป็นบัญชีค่าใช้จ่ายคงที่ ที่รู้จำนวนเงินที่แน่นอนในแต่ละเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ เป็นต้น แนะนำว่าควรโอนเงินจากบัญชีเงินเดือนเข้าบัญชีนี้ทุกต้นเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายจำเป็นเหล่านี้

4. บัญชีค่าใช้จ่ายรายสัปดาห์
เป็นบัญชีสุดท้ายที่เหลือหลังจากหักเงินออมและค่าใช้จ่ายจำเป็นออกแล้ว ไว้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง เป็นต้น แต่ไม่ควรโอนเงินจากบัญชีเงินเดือนมาไว้ที่บัญชีนี้เป็นเงินก้อนทั้งหมดทีเดียว เพราะอาจทำให้เราเผลอใช้เงินหมดก่อนสิ้นเดือน แนะนำว่าควรโอนเงินเข้าทุกต้นสัปดาห์ โดยเฉลี่ย 5 สัปดาห์ในแต่ละเดือน หากเดือนไหนมีไม่ถึง 5 สัปดาห์ หรือสัปดาห์ไหนใช้จ่ายน้อยกว่าที่ตั้งไว้ ก็สามารถนำเงินที่เหลือไปเปย์ตัวเอง หรือโอนเข้าบัญชีเงินเก็บเพิ่มได้


ตัวอย่างการแยกบัญชีเงินเดือน 30,000 บาท

ตัวอย่างการแยกบัญชีเงินเดือน 30,000 บาท


1. เมื่อได้รับเงินเดือน 30,000 บาท อันดับแรกให้โอนเงินจากบัญชีเงินเดือนเข้าบัญชีเงินออม 20% หรือ 6,000 บาท โดยแบ่งเป็น

  • เงินสำรองฉุกเฉิน (20%) 1,200 บาท ไว้ในบัญชีออมทรัพย์
  • เงินเก็บแต่งงาน (50%) 3,000 บาท ไว้ในกองทุนรวมตราสารหนี้
  • เงินเกษียณอายุ (30%) 1,800 บาท ไว้ในกองทุนรวมตราสารทุน

ต่อมาโอนเงินจากบัญชีเงินเดือนเข้าบัญชีค่าใช้จ่าย เป็นค่าบ้าน 10,000 บาท, ค่าบัตรเครดิต 3,000 บาท, ค่าเน็ตบ้าน - มือถือ 1,000 บาท และค่าน้ำ - ไฟ 1,000 บาท รวมทั้งหมด 15,000 บาท

3. หลังจากแบ่งเงินออม 6,000 บาท และค่าใช้จ่ายจำเป็น 15,000 บาทแล้ว จะเหลือเงินเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอยู่ที่ 9,000 บาท ให้เฉลี่ยด้วย 5 สัปดาห์ต่อเดือน เท่ากับว่าควรโอนเงินจากบัญชีเงินเดือนเข้าบัญชีนี้ทุกต้นสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1,800 บาท

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สามารถปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับสถานะทางการเงินของแต่ละคนได้ และหากใครยังไม่มีไอเดียในการจัดการกับบัญชีเงินออม ว่าควรลงทุนอะไร อย่างไรบ้าง ทาง ttb advisory ขอแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยจัดการเงินออมของเราให้เป็นไปได้ง่ายและมีโอกาสทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้มากขึ้น อย่าง ttb smart port calculator ที่มีแผนการลงทุนให้เลือกมากมาย ครอบคลุมทุกเป้าหมายตามระดับความเสี่ยง


แชร์ทริค บริหารเงินออมด้วย ttb smart port calculator

แชร์ทริค บริหารเงินออมด้วย ttb smart port calculator


Step 1 : ตั้งเป้าหมายการลงทุน
วิธีการบริหารเงินออมแบบง่าย ๆ เริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายก่อน โดยจะขอยกตัวอย่างเป็นการกำหนดเป้าหมายในระยะยาวอย่างการเกษียณอายุในอีก 35 ปีข้างหน้า ใช้เงินทั้งสิ้น 10,000,000 บาท และเลือกระดับความเสี่ยงที่รับได้ไม่เกิน +/- 10% หรือมากกว่า

Step 2 : เลือกแผนการลงทุนให้ตรงกับไลฟ์สไตล์
เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว ระบบจะแสดงแผนการลงทุนต่าง ๆ ซึ่งมีให้เลือกทั้งลงทุนด้วยเงินก้อนเดียว ลงทุนด้วยเงินก้อนผสมรายเดือน หรือทยอยลงทุนเท่ากันทุกเดือน ก็สามารถเลือกให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของเราได้ ซึ่งวิธีที่เหมาะสมกับมนุษย์เงินเดือนคือการเลือกลงทุนในแผน smart port 5 โดยตั้งแผนทยอยลงทุนหรือ DCA ไว้อัตโนมัติรายเดือน เดือนละ 3,486 บาท จะมีโอกาสได้ผลตอบแทน 8,535,902 บาท โดยใช้เงินต้นเพียง 1,464,098 บาท

จะเห็นได้ว่าหากเรามีการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม จะช่วยให้เราสามารถบริหารเงินออมได้ง่ายและมีโอกาสสำเร็จตามเป้าหมายได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างวินัยในการออม ประหยัดเงินต้นได้เยอะ และไม่ต้องเสียเวลาในการจัดพอร์ตการลงทุนเองอีกด้วย เพราะมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการลงทุนอย่าง Amundi และ Eastspring ที่จะคอยดูแลปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือน และหากใครต้องการคำแนะนำก็สามารถรับคำปรึกษาได้ที่ ttb advisory


โปรโมชันพิเศษ! เพิ่มโอกาสมั่งคั่ง ด้วย DCA กับกองทุน ttb smart port

รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port เมื่อลงทุนขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 29 ธันวาคม 2566


เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย

  1. รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรกที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
  2. รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
  3. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะดำเนินการแบ่งจ่ายเป็น 4 รอบ ได้แก่
    รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 - มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
    รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน 2566 - มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
    รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม 2566 - กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
    รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
    (หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายหน่วยลงทุนในวันทำการถัดไป)
  4. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยมิต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า และคำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
  5. หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้แล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในรายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกันอีก
  6. ผู้ได้รับสิทธิ์โปรโมชันพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมด (ถ้ามี) ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด


คำเตือน :
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)


หมายเหตุ :
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปใช้ซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว