external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ซื้อ SSF RMF TESG เท่าไหร่ดี ? ช่วยลดหย่อนภาษีมากที่สุด

1 ธ.ค. 2566

เข้าสู่โค้งสุดท้ายกับการหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ปี 2566 กันแล้ว ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยลดหย่อนภาษีให้เลือกมากมายตามเป้าหมายของแต่ละคน หนึ่งในวิธียอดฮิตคือ การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง SSF และ RMF แต่จะซื้อกองทุนไหนดี ต้องซื้อเท่าไหร่จึงจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากที่สุด วันนี้ ttb advisory จะพามาทำความรู้จักกับกองทุนลดหย่อนภาษีตัวใหม่ คือ กองทุน ThaiESG ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้เพิ่มสูงสุดถึง 100,000 บาท แล้วกองทุน ThaiESG คืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไร และ ThaiESG ต่างกับ SSF RMF อย่างไร มาหาคำตอบกัน


เปรียบเทียบกองทุนลดหย่อนภาษี ปี 2566 ThaiESG SSF RMF ต่างกันอย่างไร ?

ในปี 2566 นี้ ได้มีการจัดตั้งกองทุนลดหย่อนภาษีตัวใหม่อย่าง “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) หรือ กองทุน ThaiESG” ซึ่งมีเงื่อนไขแตกต่างจากกองทุนลดหย่อนภาษี SSF และ กองทุนลดหย่อนภาษี RMF ดังนี้

เปรียบเทียบกองทุนลดหย่อนภาษี ปี 2566 ThaiESG SSF RMF ต่างกันอย่างไร ?


กองทุน ThaiESG คืออะไร ?

ThaiESG หรือ Thailand ESG Fund คือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นกองทุนลดหย่อนภาษีเช่นเดียวกับ SSF และ RMF โดยมีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่เป็น ESG ประกอบด้วยความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance)

เงื่อนไขการลงทุนในกองทุน ThaiESG คือ จะต้องลงทุนระยะยาว 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ หรือ 10 ปีปฏิทิน ซื้อปีไหน ลดหย่อนได้ปีนั้น และไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุด 100,000 บาท โดยจะเป็นการแยกวงเงินออกจากกองทุน SSF และ RMF

ปัจจุบันกองทุน SSF สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และกองทุน RMF สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ประกันชีวิตบำนาญแล้ว ต้องรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ จะสามารถใช้ กองทุน ThaiESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 600,000 บาท

ทั้งนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดบริษัทจดทะเบียนที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ทั้ง 193 บริษัท ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้ที่ https://setsustainability.com//libraries/1258/item/set-esg-ratings


เงินเดือน 100,000 บาท ควรซื้อ ThaiESG SSF และ RMF เท่าไหร่ ?

STEP 1 : คำนวณหาเงินได้สุทธิ

STEP 1 : คำนวณหาเงินได้สุทธิ
อันดับแรกเราต้องคำนวณหาเงินได้สุทธิเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณภาษีก่อน โดยคำนวณจากการนำเงินได้ทั้งปี 2566 มารวมกัน แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ตามสูตร
รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
หากมีเงินเดือน 100,000 บาท รวมรายได้ทั้งปี 1,200,000 บาท จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท เมื่อคิดเงินได้สุทธิแล้วจะอยู่ที่ 1,031,000 บาท

STEP 1 : คำนวณหาเงินได้สุทธิ

STEP 2 : คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย
ต่อมาให้นำเงินได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ตามสูตร
[(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ]+ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า = ภาษีที่ต้องจ่าย
จากจำนวนเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท จะอยู่ระหว่างฐาน 1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% ทำให้จะต้องเสียภาษี (1,031,000 – 1,000,000) x 25% + 115,000 เท่ากับ 122,750 บาท

STEP 3 : คำนวณเงินที่ควรซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี

STEP 3 : คำนวณเงินที่ควรซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี
หากต้องการเปลี่ยนเงินที่ต้องจ่ายภาษีมาเป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคต สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีอย่าง ThaiESG SSF และ RMF ได้ ซึ่งจะคำนวณจาก
เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น = เงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้สูงสุด
ดังนั้น จำนวนเงินที่สามารถนำไปซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีให้พอดี จะคิดจากเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท หักเงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น 150,000 บาท เท่ากับ 881,000 บาท แต่เนื่องจากเงื่อนไขของกองทุน SSF และ RMF สามารถซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้นเมื่อรวมกับกองทุน ThaiESG อีก 100,000 บาท จะเท่ากับว่าสามารถซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 600,000 บาท เท่านั้น

แล้วควรซื้อกองทุนไหนดี จำนวนเท่าไหร่บ้างนั้น ก็ให้ดูตามความเหมาะสม อย่างเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้ เช่น หากต้องการลงทุนระยะยาว 10 ปี ก็ให้ลงน้ำหนักไปที่กองทุน SSF จำนวน 200,000 บาท และกองทุน RMF อีก 300,000 บาท หรือหากต้องการลงทุนเพื่อเกษียณอายุ ก็ให้ลงน้ำหนักไปที่กองทุน RMF จำนวน 360,000 บาท แล้วที่เหลืออีก 140,000 บาทนำไปซื้อ SSF ก็ได้เช่นกัน

สรุป หากซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี 600,000 บาท จะทำให้เหลือเงินได้สุทธิ (1,031,000 – 600,000) เท่ากับ 431,000 บาท ซึ่งจากเดิมจะเสียภาษีฐาน 25% มาเหลือเพียงฐาน 10% เท่านั้น และเมื่อคำนวณภาษีใหม่ จะเสียภาษี (431,000 – 300,000) x 10% + 7,500 เท่ากับ 20,600 บาท ซึ่งประหยัดได้ถึง 102,150 บาท เลยทีเดียว


ตัวอย่าง รายได้เท่านี้ควรซื้อ ThaiESG SSF และ RMF เท่าไหร่ ?

ตัวอย่าง รายได้เท่านี้ควรซื้อ ThaiESG SSF และ RMF เท่าไหร่ ?

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากไม่มีตัวช่วยลดหย่อนภาษี จะทำให้มนุษย์เงินเดือนเสียภาษีหลักพันไปจนถึงหลักแสน แต่ถ้าย้ายเงินไปลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี นอกจากจะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีอีกด้วยนะ

ทั้งนี้ หากใครไม่ได้มีกระแสเงินสดที่เพียงพอขนาดนั้น ก็อาจใช้วิธีซื้อเพื่อลดฐานภาษีลงก็ได้ เช่น ตอนนี้เสียภาษีฐาน 15% ก็อาจซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี ThaiESG SSF RMF เพื่อช่วยให้ฐานภาษีเหลือ 10% จะได้จ่ายภาษีเบาลงก็ได้เช่นกัน


แนะนำกองทุนลดหย่อนภาษี ttb smart port SSF ลงทุนง่าย สบายใจ

กองทุนเปิด ttb smartport เพื่อการลดหย่อนภาษี หรือ ttb smartport SSF มีให้เลือกลงทุนตามเป้าหมายและตามความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ทั้งหมด 5 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

แนะนำกองทุนลดหย่อนภาษี ttb smart port SSF ลงทุนง่าย สบายใจ

นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring ที่คอยดูแลบริหารจัดการพอร์ตให้อย่างใกล้ชิด ปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือนเพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด ทำให้เรื่องการวางแผนการเงินเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp

และหากใครยังเลือกไม่ได้ ไม่รู้จะซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีกองไหนดี เราคัดกองทุนลดหย่อนภาษีเด่น สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาให้แล้ว โดยมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายให้เลือกทั้ง SSF RMF กับกองเด่นลดหย่อนภาษี ปี 2566 จากทีทีบี

แนะนำกองทุนลดหย่อนภาษี ttb smart port SSF ลงทุนง่าย สบายใจ

และยังมีกองทุน ThaiESG ตัวใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืน ที่ทีทีบีคัดมาให้แล้ว ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Website หน้าหลักกองทุนรวมเลย https://www.ttbbank.com/th/personal/investment/mutual-funds

หากสนใจเปิดบัญชีกองทุน และลงทุนกองทุนรวม / กองทุนลดหย่อนภาษี สามารถทำรายการด้วยตนเองผ่านแอป ttb touch หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)


โปรโมชันกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2566

ซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF/ SSF ของ บลจ. 5 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน หรือโอนกองทุน LTF จาก บลจ. อื่นเข้ากองทุน LTF ของ บลจ. 4 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน (ยกเว้น ONEAM) ทุก ๆ 50,000 บาท ของการลงทุนในแต่ละ บลจ. จะได้รับเงินลงทุนเพิ่มในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท (ตาม บลจ. ที่ได้ลงทุน) ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 28 ธันวาคม 2566 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/rmf-ssf-2023


คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกรมสรรพากร (ซึ่งสามารถศึกษาได้จากคู่มือภาษีที่บริษัทจัดการได้จัดให้) ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)


หมายเหตุ
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปใช้ซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว