เชื่อว่านักลงทุนหลาย ๆ ท่าน ไม่ว่าจะมือเก่าหรือมือใหม่ คงต้องเคยได้ยินประโยค “Sell in May and Go Away” กันมาบ้างแล้ว ในช่วงเดือนพฤษภาคมเช่นนี้ เราจึงขอพาทุกคนไปรู้จักกับปรากฏการณ์ Sell in May ให้มากขึ้น พร้อมนำกลยุทธ์การลงทุนที่จะช่วยให้เราสามารถเอาชนะแรงเทขายในเดือนพฤษภาคมได้มาฝากทุกคนกัน
Sell in May and Go Away คืออะไร?
“Sell in May and Go Away” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “Sell in May” เป็นเหตุการณ์ที่ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี มักจะเกิดแรงเทขายสินทรัพย์ในตลาดหุ้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลสถิติย้อนหลังในอดีต ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศ รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง
จากข้อมูลสถิติย้อนหลังพบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลงในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เมื่อเทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยตลาดหุ้นเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน โดยดัชนี S&P 500 ตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2022 ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียง 2% ในขณะที่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 7%
สาเหตุของปรากฏการณ์ Sell in May นี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอาจเป็นเพราะในเดือนพฤษภาคมนั้น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 1 รวมถึงมีการประกาศจ่ายเงินปันผล พร้อมคาดการณ์ผลการดำเนินงานและทิศทางของบริษัทในปีนั้น ๆ ซึ่งทำให้นักลงทุนพอคาดการณ์แนวโน้มของบริษัทได้ จึงเกิดเป็นเหตุการณ์ “Sell on Fact” ส่งผลให้เกิดแรงขายหุ้นของนักลงทุนในตลาดหุ้นเพื่อทำกำไร และรอจังหวะเข้าลงทุนรอบใหม่ ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมา
ย้อนอดีต SET Index กับปรากฏการณ์ Sell in May
หากพิจารณาจากข้อมูลสถิติในอดีตย้อนหลังของดัชนีตลาดหุ้นไทยอย่าง SET Index ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2013-2022) พบว่า SET Index ในเดือนพฤษภาคม มี 6 ปี ให้ผลตอบแทนเป็นลบคือปี 2013, 2015, 2017, 2018, 2019 และ 2022 และมี 4 ปี ให้ผลตอบแทนเป็นบวกคือปี 2014, 2016, 2020 และ 2021 โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี อยู่ที่ -0.57%
จับจังหวะลงทุนท่ามกลาง Sell in May ด้วย DCA
ท่ามกลางแรงเทขายในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ เราจึงต้องฉวยโอกาสจับจังหวะลงทุนจากปรากฏการณ์ Sell in May เพื่อเริ่มลงทุนในจังหวะโอกาสแบบนี้ และจะได้ซื้อของในราคาที่ไม่สูงมากนัก พร้อมวางแผนกำหนดกลยุทธ์การลงทุนต่อ ด้วยการลงทุนแบบ “DCA” เพราะเป็นการลงทุนถัวเฉลี่ยในทุกเดือน โดยไม่จับจังหวะตลาด ไม่สนใจว่าราคาของสินทรัพย์จะเป็นเท่าใด เน้นการลงทุนที่สม่ำเสมอเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนจากช่วงตลาดขาลงได้ เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว นอกจากนี้การลงทุนแบบ DCA ยังช่วยตัดเรื่องอารมณ์ในการตัดสินใจลงทุนจากสภาวะตลาดผันผวนได้อีกด้วย
เราจะพาไปดูตัวอย่างการจับจังหวะลงทุนท่ามกลาง Sell in May ด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนรวม “ttb smart port” เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวางแผนการเงินของคุณเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring คอยดูแลอย่างใกล้ชิด วิเคราะห์และปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด เลือกความสบายใจได้จากกองทุนรวม ทั้ง 5 รูปแบบ ตามเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายการเงินของคุณ โดยแต่ละแผนมีรายละเอียด ดังนี้
1. ttb smart port 1 - preserver
สัดส่วนการลงทุน: ตราสารหนี้ต่างประเทศ 30% และตราสารหนี้ในประเทศ 70%
เหมาะกับใคร: คนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ ต้องการควบคุมความเสี่ยงและความผันผวนเป็นหลัก
ผลตอบแทน: 2.9%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
2. ttb smart port 2 - nurturer
สัดส่วนการลงทุน: ตราสารหนี้ในประเทศ 35%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 45% และหุ้นต่างประเทศ 20%
เหมาะกับใคร: คนที่สามารถรับความผันผวนได้ค่อนข้างน้อยและต้องการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ
ผลตอบแทน: 4.0%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
3. ttb smart port 3 - balancer
สัดส่วนการลงทุน: ตราสารหนี้ในประเทศ 15%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 35%, หุ้นในประเทศ 10% และหุ้นต่างประเทศ 40%
เหมาะกับใคร: คนที่ต้องการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายด้วยความเสี่ยงระดับปานกลาง ไม่เสี่ยงมากหรือน้อยไป และมีเป้าหมายให้เงินทำงานแทนในระยะยาว
ผลตอบแทน: 5.6%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
4. ttb smart port 4 - explorer
สัดส่วนการลงทุน: ตราสารหนี้ในประเทศ 10%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 20%, หุ้นในประเทศ 15% และหุ้นต่างประเทศ 55%
เหมาะกับใคร: คนที่สามารถรับความผันผวนได้ค่อนข้างสูง เพื่อเป้าหมายให้เงินเติบโต และสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ผลตอบแทน: 6.5%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
5. ttb smart port 5 - gogetter
สัดส่วนการลงทุน: หุ้นต่างประเทศ 80% และหุ้นในประเทศ 20%
เหมาะกับใคร: คนที่สามารถรับความผันผวนได้สูงและต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก
ผลตอบแทน: 7.7%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
*อ้างอิงผลตอบแทนจากพอร์ตจำลองโดยใช้สัดส่วนดัชนีชี้วัด (Benchmark) ในการคำนวณข้อมูลในอดีตย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ของกองทุน ttb smart port 1, 2, 3, 4 และ 5 ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องมิได้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
สำหรับตัวอย่างในบทความนี้ จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างการนำเงินเดือนละ 5,000 บาท ไปลงทุนในกองทุนรวม ttb smart port 3 - balancer และออมในบัญชีเงินฝากประจำ มาดูกันว่าถ้าเราออมหรือลงทุนทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว ในระยะเวลา 10 ปี โอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้ของการลงทุนแต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้าง
จากตัวอย่างตารางในภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า หากเรานำเงินเดือนละ 5,000 บาท มาลงทุนในกองทุนเปิด ttb smart port 3 - balancer ทุกเดือน ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปี 2022 (10 ปี) ณ สิ้นปี 2022 เงินรวมที่เราได้รับจะเท่ากับ 684,244.9 บาท และหากเรานำเงินเดือนละ 5,000 บาท ไปฝากประจำทุกเดือน เงินรวมที่เราได้รับ ณ สิ้นปี 2022 จะเท่ากับ 622,179.6 บาท
สรุปได้ว่าเงินรวมที่ได้รับจากการลงทุนใน ttb smart port 3 - balancer ด้วยเงินจำนวน 5,000 บาท ทุกเดือน เป็นระยะเวลา 10 ปี มากกว่าการออมเงินในบัญชีฝากประจำถึง 62,065.3 บาท นอกจากนี้การฝากเงินในธนาคาร หากดอกเบี้ยที่ได้รับเกิน 20,000 บาท จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ในขณะที่การลงทุนในกองทุนเปิด ttb smart port มีให้เลือกลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีผ่าน ttb smartport SSF ซึ่งสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจอยากลองสร้างแผน DCA เป็นของตัวเอง สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal
ซึ่งวันนี้เรามีโปรโมชันสุดพิเศษมามอบให้ลูกค้าที่ลงทุนแบบ DCA กับกองทุนรวม ttb smart port ด้วย โดยลูกค้าที่ลงทุน DCA ขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน จะได้รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port โดยต้องเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 ธันวาคม 2566 เท่านั้น ศึกษาขั้นตอนการเปิดพอร์ตการลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ที่ https://www.ttbbank.com/archive/howto/app/open-inv-port.php
ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch
เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย
- รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรก ที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - วันที่ 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
- รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะเริ่มดำเนินการจ่าย 4 รอบ ได้แก่
รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 - มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน 2566 - มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม 2566 - กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
(หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายในวันทำการถัดไป) - บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยจะแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด และธนาคาร คำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณารายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
- กรณีมีภาระภาษีเกิดขึ้นจากโปรโมชันที่ผู้ลงทุนได้รับ ผู้ลงทุนต้องเป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน:
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- สนใจลงทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 – 17:30 น. ยกเว้น วันหยุดธนาคาร
ระยะเวลาโปรโมชัน 1 ก.พ. 66 - 29 ธ.ค. 66