external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

วางแผนได้เร็ว เกษียณอย่างสบายใจ แนะนำวิธีวางแผนเกษียณอายุ ฉบับมนุษย์เงินเดือน

6 มิ.ย. 2565

“การเกษียณสำราญ” หรือ “การหยุดทำงาน แต่ยังมีเงินใช้อยู่ ” เป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝันถึง แต่จะมีสักกี่คนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้จริง ๆ เพราะคนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ยังไม่ถึงวัยที่ต้องมานั่งวางแผนเกษียณ แต่แท้จริงแล้วหากเราไม่รีบวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้มีเงินไม่พอใช้จนถึงบั้นปลายชีวิต และทำให้เราเกษียณอายุไม่ได้จริง จนเป็นภาระของครอบครัว หรือยังต้องหางานทำไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะถึงวัยเกษียณแล้วก็ตาม

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า หลายคนหันมารักสุขภาพกันมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้า ทำให้ผู้คนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น เราจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงชีวิตหลังเกษียณ รวมถึงค่าใช้จ่ายในเรื่องของปัญหาสุขภาพที่อาจจะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย โดยเราสามารถเริ่มต้นวางแผนเกษียณอายุได้ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. คำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

อันดับแรกมาเริ่มคำนวณดูว่าต้องมีเงินก้อน ณ วันเกษียณเท่าไหร่ โดยสามารถอิงจากค่าใช้จ่ายและไลฟ์สไตล์ที่เราใช้ชีวิตในปัจจุบันได้ เช่น หากเราเป็นคนที่ชอบใช้ชีวิตอยู่บ้าน กินง่าย อยู่ง่าย อาจจะไม่ต้องมีเงินก้อนใหญ่มากนัก แต่ถ้าเราเป็นคนที่ชอบท่องเที่ยว กินหรู อยู่สบาย ก็อาจต้องเก็บเงินหนักหน่อย เพื่อให้มีเงินก้อนโตไว้ใช้หลังเกษียณ

ยกตัวอย่างเช่น นายทัชอายุ 25 ปี เป็นคนโสด กินง่าย อยู่ง่าย ชอบอยู่บ้านเลี้ยงแมว ไม่มีภาระผ่อนบ้าน อยากเกษียณอายุตอน 60 ปี และคาดว่าจะอยู่ถึง 85 ปี แสดงว่าจะมีเวลาทำงานและเก็บเงิน 35 ปี เพื่อนำไปใช้ในอีก 25 ปีหลังเกษียณ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่คาดว่าจะต้องใช้ มีดังนี้

  • ค่าอาหาร 9,000 บาท
  • ค่าโทรศัพท์รายเดือน 500 บาท
  • ค่าสาธารณูปโภค 1,500 บาท
  • ค่าใช้จ่ายสัตว์เลี้ยง 3,000 บาท
  • ค่าประกันสุขภาพ 2,000 บาท
  • อื่น ๆ 2,500 บาท

รวมใช้จ่าย 18,500 บาทต่อเดือน หรือ 222,000 บาทต่อปี ซึ่งต้องคำนวณเผื่อเงินเฟ้อเข้าไปด้วย โดยสมมติว่าเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ต่อปี เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมเพื่อไว้ใช้ในตอนเกษียณประมาณ 8,093,957 บาท


2. ตรวจสอบเงินออมที่มีอยู่

เมื่อเรารู้จำนวนเงินที่เราต้องมีตอนเกษียณแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือ ตรวจสอบดูว่า ณ ตอนนี้เรามีเงินออมเพื่อเกษียณเท่าไหร่ แล้วลองคำนวณว่ายังขาดอีกเท่าไหร่ ต้องออมเพิ่มเท่าไหร่

จากตัวอย่างข้างต้นที่ต้องเตรียมเงิน 8,093,957 บาท เมื่อสำรวจดูแล้วพบว่า มีบัญชีฝากประจำเพื่อเกษียณอยู่ 100,000 บาท เท่ากับว่า ต้องออมเพิ่มอีก 7,993,957บาท เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่เราคำนวณไว้


3. วางแผนลงทุน

จากนั้นก็มาวางแผนออมเงินกันต่อ โดยเรามีเวลาออมเงิน 35 ปี เท่ากับว่าต้องออม 19,033 บาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมาก แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาวางแผนลงทุนในที่ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า ตามความเสี่ยงที่เรารับได้ อย่างเช่น การ DCA ในกองทุนรวม ก็จะช่วยให้แผนการเกษียณเป็นไปได้มากขึ้น โดยเราสามารถใช้เครื่องมืออย่าง ttb smart port ที่มีแผนการลงทุนให้เลือกมากมาย ช่วยเพิ่มโอกาสบรรลุเป้าหมาย ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้


ตัวอย่าง วิธีวางแผนเกษียณ ผ่าน ttb smart port

วิธีวางแผนเกษียณ ผ่าน ttb smart port

อ้างอิงวิธีคำนวณเงินเกษียณ : https://www.set.or.th/project/caltools/www/html/retirement.html

โดยเริ่มจากกำหนดเป้าหมายเกษียณอายุในอีก 35 ปี โดยใช้เงินทั้งสิ้น 7,993,957 บาท และเลือกระดับความเสี่ยงที่รับได้ จากตัวอย่างคือ รับความเสี่ยงได้ +/- 10% calculator เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว ก็จะแสดงแผนการลงทุนต่าง ๆ มีให้เลือกทั้งลงทุนด้วยเงินก้อนเดียว ครั้งเดียว, ลงเงินก้อนผสมกับทยอยลงทุนเรื่อย ๆ หรือทยอยลงทุนเท่ากันทุกเดือน ก็สามารถเลือกได้เช่นกัน โดยเราจะเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะกับอาชีพมนุษย์เงินเดือน อย่างการ ทยอยลงทุนเท่ากันทุกเดือน (DCA)


ตัวอย่าง แผนการลงทุนสำหรับเกษียณอายุ

แผนการลงทุนสำหรับเกษียณอายุ

จากในตัวอย่าง เราเลือกลงทุนด้วย “smart port 5 : go-getter” โดยทยอยลงทุนเท่ากันทุกเดือน แต่จากที่ต้องออมเดือนละ 19,033 บาท ก็จะเหลือเพียงเดือนละ 2,787 บาท ก็จะมีโอกาสได้ผลตอบแทน 6,823,563 บาท โดยใช้เงินต้นเพียง 1,170,394 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,993,957 บาท ตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้

จะเห็นได้ว่าหากเราวางแผนเกษียณอายุได้เร็ว ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และลงทุนให้ถูกสินทรัพย์ จะช่วยให้เราใช้เงินต้นที่น้อยลง หรือหากเราเพิ่มเงินลงทุนให้มากขึ้น จากเดิมที่วางแผนไว้ว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี ก็อาจจะทำให้เกษียณได้เร็วยิ่งขึ้น 5 ปี หรือ 10 ปีได้เช่นกัน แต่หากใครยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรเริ่มจากตรงไหนก่อนดี ลองขอคำปรึกษาได้ที่ ttb advisory

สำหรับใครที่ต้องการเพิ่มโอกาสบรรลุเป้าหมายทางการเงิน ลองมาตั้งเป้าหมายผ่าน ttb smart port calculator ด้วยตัวเอง สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal เปิดบัญชีกองทุน และลงทุนผ่านแอป ttb touch สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด#4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)


หมายเหตุ:

  • ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปใช้ซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน /ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต /ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน /ผู้ลงทุนสามารถรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb Investment Line โทร. 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)