external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

กลยุทธ์ดิจิทัล

อุตสาหกรรมธนาคารกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายทางการแข่งขันอันเนื่องมาจากปัจจัยก่อกวนที่จะพลิกผันภาคอุตสาหกรรมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การดำเนินงานในรูปแบบเดิมจะทำให้ธนาคารและภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ธนาคารจึงได้วางรากฐานสำคัญเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงโดยตระหนักว่า การสร้างคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ใหม่ โดยมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นแรงขับให้อุตสาหกรรมธนาคารต้องปรับตัวและเร่งสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล

 

 

นอกเหนือจากการใช้ขีดความสามารถทางดิจิทัลเพื่อเร่งการผนึกพลังจากการรวมกิจการ ธนาคารได้จัดทำโมเดลการทำงานที่เรียกว่า “Digital First” เพื่อผลักดันการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงมุ่งพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าผ่านช่องทาง Omni-channel อย่างต่อเนื่อง

 

โมเดลการทำงานแบบ Digital First

 

ธนาคารพัฒนาโมเดลการทำงานแบบ Digital First มีเป้าหมายเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าโดยมุ่งใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือหลักในการเสนอบริการผ่านช่องทางการสื่อสารและบริการลูกค้าที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งนี้ ธนาคารได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานภายในองค์กรและที่สำนักงานสาขา โดยใช้นวัตกรรมทางแพลตฟอร์มที่กระจายการรวมศูนย์ซึ่งเอื้อต่อการปล่อยโซลูชั่นใหม่ๆ อย่างรวดเร็วทั่วทั้งองค์กร ในปี 2563 ธนาคารได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาประสบการณ์ลูกค้าแบบออฟไลน์ให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะดูแลลูกค้าออฟไลน์ให้สามารถใช้บริการออนไลน์ได้อย่างราบรื่น เช่น สำนักงานสาขาได้ใช้แท็บเล็ตความปลอดภัยสูงในการให้บริการลูกค้าทดแทนการกรอกเอกสารแบบเดิม หรือการแนะนำการใช้งานแอพพลิเคชั่น ttb touch เพื่อให้ลูกค้าคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร รวมทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์ที่สะดวกสบาย รวดเร็ว และง่ายดายกว่าเดิม สำหรับสำนักงานสาขานำร่องบางแห่ง ผู้จัดการสาขาสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่กำลังรอรับบริการได้โดยใช้ช่องทางตู้เอทีเอ็ม หรือแอพพลิเคชั่น ttb touch


นวัตกรรมโซลูชั่นเพื่อลูกค้า

การนำเสนอดิจิทัลโซลูชั่นและนวัตกรรมให้กับลูกค้าคือหนึ่งในกลยุทธ์ดิจิทัลของธนาคาร ธนาคารเชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่เคยได้รับการตอบสนองมาก่อน ธนาคารได้สร้างวัฒนธรรมในการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางและส่งเสริมให้พนักงานสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยนอกเหนือจากการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างหลักและการวิเคราะห์ข้อมูล ธนาคารยังได้ลงทุนในช่องทางดิจิทัลและการขยายโซลูชั่นทางการเงินเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ง่ายและสะดวก และเพิ่มความพึงพอใจผ่านการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าในเชิงลึกตลอดเส้นทางการบริหารประสบการณ์ลูกค้าควบคู่ไปกับการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับธนาคารการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสร้างประสบการณ์ธนาคารดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นส่งเสริมให้ลูกค้ามีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างมั่นคงและราบรื่น วัฒนธรรมนวัตกรรมของธนาคารสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนใน ttb HACKATHON ซึ่งเป็นเวทีที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2561 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือข้ามสายงานเพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรมให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจาก ttb HACKATHON 2019 ได้แก่ บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน (Multi-currency Account) สินเชื่อธุรกิจ ttb SME Smart BIZ และ บัตรเครดิต ttb ABSOLUTE เป็นต้น

การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องช่วยให้ธนาคารมั่นใจได้ว่าจะสามารถบริหารจัดการลูกค้าธนาคารในระบบดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและตอบสนองความต้องการได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ธนาคารจึงมุ่งพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมดิจิทัลให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินและนำเสนอขั้นตอนการสมัครที่ง่าย

กลยุทธ์ดิจิทัล

อุตสาหกรรมธนาคารกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายทางการแข่งขันอันเนื่องมาจากปัจจัยก่อกวนที่จะพลิกผันภาคอุตสาหกรรมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การดำเนินงานในรูปแบบเดิมจะทำให้ธนาคารและภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ธนาคารจึงได้วางรากฐานสำคัญเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงโดยตระหนักว่า การสร้างคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ใหม่ โดยมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นแรงขับให้อุตสาหกรรมธนาคารต้องปรับตัวและเร่งสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล

 

 

นอกเหนือจากการใช้ขีดความสามารถทางดิจิทัลเพื่อเร่งการผนึกพลังจากการรวมกิจการ ธนาคารได้จัดทำโมเดลการทำงานที่เรียกว่า “Digital First” เพื่อผลักดันการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงมุ่งพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าผ่านช่องทาง Omni-channel อย่างต่อเนื่อง

 

โมเดลการทำงานแบบ Digital First

 

ธนาคารพัฒนาโมเดลการทำงานแบบ Digital First มีเป้าหมายเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าโดยมุ่งใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือหลักในการเสนอบริการผ่านช่องทางการสื่อสารและบริการลูกค้าที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งนี้ ธนาคารได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานภายในองค์กรและที่สำนักงานสาขา โดยใช้นวัตกรรมทางแพลตฟอร์มที่กระจายการรวมศูนย์ซึ่งเอื้อต่อการปล่อยโซลูชั่นใหม่ๆ อย่างรวดเร็วทั่วทั้งองค์กร ในปี 2563 ธนาคารได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาประสบการณ์ลูกค้าแบบออฟไลน์ให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะดูแลลูกค้าออฟไลน์ให้สามารถใช้บริการออนไลน์ได้อย่างราบรื่น เช่น สำนักงานสาขาได้ใช้แท็บเล็ตความปลอดภัยสูงในการให้บริการลูกค้าทดแทนการกรอกเอกสารแบบเดิม หรือการแนะนำการใช้งานแอพพลิเคชั่น ttb touch เพื่อให้ลูกค้าคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร รวมทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์ที่สะดวกสบาย รวดเร็ว และง่ายดายกว่าเดิม สำหรับสำนักงานสาขานำร่องบางแห่ง ผู้จัดการสาขาสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่กำลังรอรับบริการได้โดยใช้ช่องทางตู้เอทีเอ็ม หรือแอพพลิเคชั่น ttb touch


นวัตกรรมโซลูชั่นเพื่อลูกค้า

การนำเสนอดิจิทัลโซลูชั่นและนวัตกรรมให้กับลูกค้าคือหนึ่งในกลยุทธ์ดิจิทัลของธนาคาร ธนาคารเชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่เคยได้รับการตอบสนองมาก่อน ธนาคารได้สร้างวัฒนธรรมในการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางและส่งเสริมให้พนักงานสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยนอกเหนือจากการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างหลักและการวิเคราะห์ข้อมูล ธนาคารยังได้ลงทุนในช่องทางดิจิทัลและการขยายโซลูชั่นทางการเงินเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ง่ายและสะดวก และเพิ่มความพึงพอใจผ่านการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าในเชิงลึกตลอดเส้นทางการบริหารประสบการณ์ลูกค้าควบคู่ไปกับการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับธนาคารการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสร้างประสบการณ์ธนาคารดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นส่งเสริมให้ลูกค้ามีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างมั่นคงและราบรื่น วัฒนธรรมนวัตกรรมของธนาคารสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนใน ttb HACKATHON ซึ่งเป็นเวทีที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2561 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือข้ามสายงานเพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรมให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจาก ttb HACKATHON 2019 ได้แก่ บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน (Multi-currency Account) สินเชื่อธุรกิจ ttb SME Smart BIZ และ บัตรเครดิต ttb ABSOLUTE เป็นต้น

การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องช่วยให้ธนาคารมั่นใจได้ว่าจะสามารถบริหารจัดการลูกค้าธนาคารในระบบดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและตอบสนองความต้องการได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ธนาคารจึงมุ่งพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมดิจิทัลให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินและนำเสนอขั้นตอนการสมัครที่ง่าย

กลยุทธ์ดิจิทัล

อุตสาหกรรมธนาคารกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายทางการแข่งขันอันเนื่องมาจากปัจจัยก่อกวนที่จะพลิกผันภาคอุตสาหกรรมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การดำเนินงานในรูปแบบเดิมจะทำให้ธนาคารและภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ธนาคารจึงได้วางรากฐานสำคัญเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงโดยตระหนักว่า การสร้างคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ใหม่ โดยมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นแรงขับให้อุตสาหกรรมธนาคารต้องปรับตัวและเร่งสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล

 

 

นอกเหนือจากการใช้ขีดความสามารถทางดิจิทัลเพื่อเร่งการผนึกพลังจากการรวมกิจการ ธนาคารได้จัดทำโมเดลการทำงานที่เรียกว่า “Digital First” เพื่อผลักดันการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงมุ่งพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าผ่านช่องทาง Omni-channel อย่างต่อเนื่อง

 

โมเดลการทำงานแบบ Digital First

 

ธนาคารพัฒนาโมเดลการทำงานแบบ Digital First มีเป้าหมายเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าโดยมุ่งใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือหลักในการเสนอบริการผ่านช่องทางการสื่อสารและบริการลูกค้าที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ทั้งนี้ ธนาคารได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานภายในองค์กรและที่สำนักงานสาขา โดยใช้นวัตกรรมทางแพลตฟอร์มที่กระจายการรวมศูนย์ซึ่งเอื้อต่อการปล่อยโซลูชั่นใหม่ๆ อย่างรวดเร็วทั่วทั้งองค์กร ในปี 2563 ธนาคารได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาประสบการณ์ลูกค้าแบบออฟไลน์ให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะดูแลลูกค้าออฟไลน์ให้สามารถใช้บริการออนไลน์ได้อย่างราบรื่น เช่น สำนักงานสาขาได้ใช้แท็บเล็ตความปลอดภัยสูงในการให้บริการลูกค้าทดแทนการกรอกเอกสารแบบเดิม หรือการแนะนำการใช้งานแอพพลิเคชั่น ttb touch เพื่อให้ลูกค้าคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร รวมทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์ที่สะดวกสบาย รวดเร็ว และง่ายดายกว่าเดิม สำหรับสำนักงานสาขานำร่องบางแห่ง ผู้จัดการสาขาสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่กำลังรอรับบริการได้โดยใช้ช่องทางตู้เอทีเอ็ม หรือแอพพลิเคชั่น ttb touch


นวัตกรรมโซลูชั่นเพื่อลูกค้า

การนำเสนอดิจิทัลโซลูชั่นและนวัตกรรมให้กับลูกค้าคือหนึ่งในกลยุทธ์ดิจิทัลของธนาคาร ธนาคารเชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่เคยได้รับการตอบสนองมาก่อน ธนาคารได้สร้างวัฒนธรรมในการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางและส่งเสริมให้พนักงานสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยนอกเหนือจากการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างหลักและการวิเคราะห์ข้อมูล ธนาคารยังได้ลงทุนในช่องทางดิจิทัลและการขยายโซลูชั่นทางการเงินเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ง่ายและสะดวก และเพิ่มความพึงพอใจผ่านการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าในเชิงลึกตลอดเส้นทางการบริหารประสบการณ์ลูกค้าควบคู่ไปกับการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับธนาคารการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสร้างประสบการณ์ธนาคารดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นส่งเสริมให้ลูกค้ามีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างมั่นคงและราบรื่น วัฒนธรรมนวัตกรรมของธนาคารสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนใน ttb HACKATHON ซึ่งเป็นเวทีที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2561 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือข้ามสายงานเพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรมให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจาก ttb HACKATHON 2019 ได้แก่ บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน (Multi-currency Account) สินเชื่อธุรกิจ ttb SME Smart BIZ และ บัตรเครดิต ttb ABSOLUTE เป็นต้น

การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องช่วยให้ธนาคารมั่นใจได้ว่าจะสามารถบริหารจัดการลูกค้าธนาคารในระบบดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและตอบสนองความต้องการได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ธนาคารจึงมุ่งพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมดิจิทัลให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินและนำเสนอขั้นตอนการสมัครที่ง่าย