external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน (Human Capital Development)

ธนาคารกำหนดกลยุทธ์การฝึกอบรมที่เน้นการเสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้แก่พนักงานทุกคน อันจะส่งผลให้พนักงานมีความพร้อมที่จะผลักดันให้ธนาคารบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ โดยที่การฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรจะมีเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับทักษะของพนักงานในแต่ละกลุ่มและสอดคล้องกับบริบทของงานและบทบาทของพนักงานในอนาคต ธนาคารวัดมูลค่าของพนักงานในองค์กร ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา (2563-2666) โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 4.0, 2.8, 3.2 และ 3.4 ตามลำดับ


เส้นทางและกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล (HR Roadmap and Strategy)

ธนาคารมุ่งสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในภาคธนาคารพาณิชย์ของประเทศ และเชื่อว่าการเสริมสร้างพนักงานให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะท้าทายและปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ จะส่งผลให้ธนาคารสามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

  • พนักงานของธนาคารมีเส้นทางการเติบโตสายอาชีพที่ชัดเจน ธนาคารกำหนดแผนงานสายอาชีพและแผนพัฒนาบุคคลากรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับศักยภาพของพนักงานแต่ละคนและสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็น
  • การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ (Best Development) ธนาคารส่งเสริมแห่งการเรียนรู้พร้อมแผนการพัฒนาที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน
  • การยกย่องผลงาน (Performance Recognition) ธนาคารมีหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนและการยกย่องชมเชยพนักงานตามผลงาน
  • วัฒนธรรม (Make REAL Change) ธนาคารสนับสนุนให้พนักงานคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์


โครงการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน

ธนาคารมีแผนปรับเปลี่ยนการเรียนรู้และพัฒนาพนักงาน ซึ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการพัฒนาและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นในด้านต่างๆ ต่อไปนี้:

  1. นำรูปแบบการประเมินผลการฝึกอบรม Kirk-Patrick มาใช้ในโครงการพัฒนาระดับสายงาน (Functional Development Program) เพื่อให้มั่นใจว่าแผนพัฒนาต่างๆ ได้มีการพิจารณาถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจและพฤติกรรมที่คาดหวังที่ชัดเจน
  2. ผู้บริหารระดับสูงและผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในการวางแผนโครงการพัฒนาพนักงาน กับสายงานทรัพยากรบุคล เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาพนักงานในสายงาน
  3. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของพนักงาน โดยนำแนวทางพัฒนาด้านต่างๆ มารวมไว้บนแพลทฟอร์มเดียวกัน ได้แก่ ห้องเรียน (Classroom Training) ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practices) การแบ่งปันความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา และใช้ได้กับอุปกรณ์ต่างๆ
  4. ปรับปรุงเนื้อหาสาระของแผนพัฒนาบุคลากรให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการผสานแผนงานต่างๆ เข้าด้วยกัน (Integrated/ Intervention Program) และกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแทนการมีแผนงานกระจัดกระจายหลายด้าน
  5. ปรับปรุงเนื้อหาของ e-learning ให้กระชับมากขึ้น พร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพิ่มความคล่องตัวให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล


แผนการพัฒนาความสามารถหลัก (Core Competency)

ธนาคารออกแบบแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทั้งในด้านความสามารถหลักและภาวะความเป็นผู้นำ โดยกำหนดหัวข้อและเนื้อหาสาระของหลักสูตรให้เหมาะสมกับพนักงานและผู้บริหารแต่ละระดับ ซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมหลักและทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่มีระดับความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน

ปัจจัยสำคัญที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และพัฒนาเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม เช่น พฤติกรรมที่คาดหวัง ทักษะที่จำเป็นและระดับความเชี่ยวชาญ โดยจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และ Community of Practices นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดแผนการฝึกอบรมสำหรับพนักงานทั่วทั้งองค์กรเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาขีดความสามารถที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มาตรฐาน


โครงการพัฒนาภาวะผู้นำ

ธนาคารมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและศักยภาพภาวะการเป็นผู้นำของพนักงานทุกระดับ และได้ดำเนินโครงการพัฒนาภาวะผู้นำที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อให้พนักงานสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ โครงการเหล่านี้จะช่วยพัฒนาแนวคิด ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือที่จำเป็น โครงการฝึกอบรม “First Line Manager” และ “Manager of Manager” ที่ต้องการสร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำในสายงาน โดยหลักสูตรดังกล่าวจะให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด ทักษะและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเป็นหัวหน้างานที่ดี สำหรับการพัฒนาผู้นำระดับอาวุโสและผู้บริหารระดับสูง และเน้นการเปิดมุมมองและความเข้าใจที่มีต่อความท้าทายสำคัญทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับไวในธุรกิจธนาคาร


เวทีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Platform)

ธนาคารได้สร้างเวทีเพื่อการเรียนรู้ขึ้นใหม่ สำหรับให้พนักงานได้เรียนรู้ออนไลน์ และยังสามารถสร้างกลุ่มอภิปรายสำหรับแบ่งปันความรู้ร่วมกันที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก ธนาคารได้บรรจุหัวข้อการเรียนรู้มากกว่า 400 รายการ เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการ


การเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในงาน

ธนาคารได้จัดโปรแกรมฝึกอบรม Functional Training โดยผสานช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งรวมถึงการอบรมในห้องเรียน e-learning และ Community of Practices เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างโปรแกรมฝึกอบรม ได้แก่ การวิเคราะห์สินเชื่อ ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของธนาคาร กฎระเบียบที่สำคัญและระบบการเงินการธนาคาร


การเรียนรู้แบบผสมผสาน

ธนาคารได้นำโมเดลในการพัฒนาและเรียนรู้ 70:20:10 มาใช้ในการพัฒนาพนักงาน โดยเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) และผ่านช่องทางที่หลากหลาย สามารถเลือกการเรียนรู้แบบไฮบริด (Hybrid Channel) ได้ตามความเหมาะสม ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยการเรียนรู้แบบออนไลน์ พนักงานสามารถเรียนผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ ของธนาคารตามแนวคิดการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา โดยบรรจุหัวข้อการเรียนรู้ไว้มากกว่า 500 รายการ เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการได้ สำหรับการเรียนรู้แบบออฟไลน์ ธนาคารได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันหรือองค์กรภายนอก หรือวิทยากรผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรมาถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงาน ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อาทิเช่น การบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การโค้ช การฝึกปฏิบัติ การจำลองสถานการณ์และการทำเวิร์กช็อปเป็นต้นเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพของพนักงานให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน


การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความตระหนักในด้านความปลอดภัย

ธนาคารให้ความสำคัญด้านการบริหารความเสี่ยงและการสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย โดยตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อลูกค้าและชื่อเสียงขององค์กร ธนาคารจึงได้จัดโปรแกรมฝึกอบรมด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยหลายหลักสูตร เช่น การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการองค์กร (Corporate Operational Risk Management) การป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering) การส่งเสริมความตระหนักด้านความเสี่ยงประจำปี 2561 (Promoting risk Awareness 2018) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) แก่พนักงานผ่านช่องทางออนไลน์ที่พนักงานทั่วประเทศสามารถเข้าถึงได้

นอกจากการพัฒนาทักษะเพื่อการเติบโตในสายอาชีพแล้ว จากความมุ่งมั่นของธนาคารที่จะส่งมอบคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับคนไทย พนักงานของธนาคารคือแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะส่งมอบความตั้งใจนี้ให้ถึงมือลูกค้าได้ ดังนั้นการส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความสามารถที่แข็งแกร่งขึ้นจึงเป็นภารกิจสำคัญ


การรักษาพนักงานและการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง

ธนาคารตระหนักดีว่าความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ธนาคารจึงได้ดำเนินการสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรเป็นประจำทุกปี (VOE: Voice of Employee หรือ Employee Engagement Survey) โดยบริษัท คินเซนทริค (ประเทศไทย) จำกัด โดยผลการสำรวจจะถูกนำไปพัฒนา ปรับปรุง เพื่อให้ธนาคารเป็นองค์กรที่น่าทำงานมากยิ่งขึ้น รวมถึงนำไปทำแผนพัฒนาเพื่อยกระดับความผูกพันของพนักงาน และความพึงพอใจของพนักงานต่อไป

พนักงานที่ถือว่ามีความผูกพันกับองค์กร จะต้องมีพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

  • พูดสิ่งดี ๆ เกี่ยวกับองค์กรเมื่อมีโอกาส (Say)
  • ต้องการทำงานอยู่กับองค์กร (Stay)
  • ทุ่มเททำงานให้งานและองค์กรประสบความสำเร็จ (Strive)

ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสร้างประสบการณ์ที่ดี (The Employee Experience) ให้กับพนักงานผ่านตัวขับเคลื่อนความผูกพัน (Engagement drivers) คือ

  • ความเป็นผู้นำที่สร้างความผูกพัน (Engaging Leadership)
  • การให้ความสำคัญกับพนักงาน เช่น แผนการพัฒนาอาชีพ จำนวนพนักงาน การประเมินผลงาน (Talent Focus)
  • ความคล่องตัว เช่น การร่วมมือ ความหลากหลาย การใช้หลักลูกค้าเป็นศุนย์กลาง (Agility)
  • ปัจจัยพื้นฐาน เช่น สุขภาพกาย สุขภาพใจ ความเครียดจากการทำงาน (The Basics)
  • งาน เช่น ความพึงพอใจในตัวงาน ความสุขในการทำงาน งานที่ตอบโจทย์เป้าหมายชีวิต (The Work)

ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพนักงานที่มีศักยภาพ จึงมีการจัดทำเครื่องมือเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานระยะยาว ช่วยให้พนักงานมุ่งมั่นทำงานด้วยความรู้สึกของการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ (Long-term incentives) ผ่านการจัดทำโครงการร่วมทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือ Employee Joint Investment Program (EJIP) ที่ธนาคารช่วยสมทบการลงทุนของพนักงานในการซื้อหุ้นของธนาคารในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยเงินลงทุนทั้งสองส่วนอยู่ภายใต้ชื่อบัญชีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน พนักงานได้รับเงินปันผลและสิทธิในการออกเสียงตามปกติ

ธนาคารได้วางแผนการสืบทอดตำแหน่งงานบริหารระดับสูงที่จะว่างลงเนื่องจากการคาดการณ์การเกษียณอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่นสำหรับผู้สืบทอดตำแหน่งและเกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจ ธนาคารได้ระบุตำแหน่งที่มีความสำคัญและกำหนดโปรไฟล์ของผู้สืบทอดตำแหน่ง โดยผู้ที่มีศักยภาพที่ได้รับการคัดกรองจะได้รับการประเมินความพร้อมด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญต่างๆ ก่อนจะได้เข้าร่วมในโปรแกรมการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็น


พนักงานสัมพันธ์

ธนาคารเคารพสิทธิแรงงานของพนักงานผู้ที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อันควร คณะกรรมการสวัสดิการ (Welfare Committee) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพนักงานทั้งหมด มีการประชุมร่วมกับสายงานทรัพยากรบุคคลในฐานะตัวแทนองค์กรทุก 6 เดือน เพื่อหารือเกี่ยวกับสิทธิของพนักงาน ผลประโยชน์และข้อกังวลต่างๆ โดยจะสรุปประเด็นสำคัญรายงานต่อคณะกรรมการจัดการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยมี 4 สหภาพแรงงาน ได้แก่ สหภาพแรงงานธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานพนักงานธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานกิจการธนาคารทหารไทย และสหภาพแรงงานธนาคารทีเอ็มบี ธนชาต โดยมีพนักงานเข้าร่วมสหภาพแรงงานคิดเป็นร้อยละ 20 ของพนักงาน

ธนาคารและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ควบคุมกำกับดูแลการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน ฯ ประกอบด้วย กรรมการฝ่ายนายจ้างซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และกรรมการฝ่ายลูกจ้างซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกกองทุนเพื่อส่งเสริมให้พนักงานสะสมเงินออมตามอัตราส่วนที่ต้องการส่วนหนึ่ง และธนาคารส่งสมทบตามอัตราส่วนตามอายุงานของพนักงานส่วนหนึ่ง และมีรูปแบบการจัดการกองทุนแบบ Employee’s Choice โดยพนักงานสามารถเลือกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนได้ในอัตราร้อยละ 2-15 ของเงินเดือนของพนักงานแต่ละราย และธนาคารสมทบเงินร้อยละ 5-10 ของเงินเดือนของพนักงานเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นความมั่นคงหลังเกษียณอายุการทำงานของพนักงาน ทั้งนี้ ณ 31 ธันวาคม 2566 ธนาคารมีพนักงาน จำนวน 14,328 คน โดยมีพนักงานที่เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น จำนวน 13,046 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 91


สุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน

ธนาคารกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางกายภาพ (Workplace Safety and Physical Security Policy) ซึ่งระบุแนวทางบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางกายภาพภายในธนาคาร โดยได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง นโยบายดังกล่าวมีขอบเขตครอบคลุมทั้งพนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้มาติดต่อและลูกค้าในทุกสถานที่ตั้งของธนาคาร

เพื่อให้การดูแลความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงามเป็นไปอย่างมีระบบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนจากนายจ้างและลูกจ้าง มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเป็นเลขานุการของคณะ โดยคณะกรรมการฯ มีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านความปลอดภัยที่ได้รับการรายงานจากพนักงาน ปรับปรุงการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงาน เช่น การลดหรือป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพเทียบกับเป้าหมาย คณะกรรมการจะพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและดำเนินงานด้านความปลอดภัยประกอบด้วย แผนกทรัพยากรอาคารและบริการส่วนกลาง แผนกบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการสาขาและสำนักงานขาย

ธนาคารมีการตั้งเป้าหมายอุบัติเหตุเป็นศูนย์และจำนวนวันบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์ ธนาคารดำเนินการตรวจสอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การออกแบบสถานที่ การดูแล สภาพแวดล้อมและการจัดหาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ธนาคารยังใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการปฏิบัติงานโดยจัดอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่พนักงานทุกคน

การบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยอยู่ภายใต้การดูแลระหว่างแผนกความปลอดภัยและแผนกบริหารทรัพยากรบุคคลและพนักงานสัมพันธ์ ทั้งสองหน่วยงานร่วมกันส่งเสริมด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน อีกทั้งมีการกำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัยและใช้ประกอบการพิจารณาการประเมินผลการดำเนินงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ธนาคารมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่เหมาะสม จัดทำแผนการดำเนินงานและเป้าหมายที่ชัดเจน ตลอดจนตรวจประเมินการดำเนินงานด้านความปลอดภัยโดยหน่วยงานภายในและภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ถึงการบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีการรายงานผลการดำเนินงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานแก่ผู้บริหารระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

งานทุกประเภทจะมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งพบว่ามีงาน 3 ลักษณะที่มีความเสี่ยงในระดับสูง ได้แก่ Call Center ซึ่งต้องสัมผัสกับเสียง ห้องเก็บเอกสารและงานพิมพ์เอกสารซึ่งต้องสัมผัสกับไฮโดรคาร์บอนและสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds) แม้ว่าธนาคารจะมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมความเสี่ยงในพื้นที่ดังกล่าว แต่หากพบว่าพนักงานได้รับสารดังกล่าวเกินกว่าระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด พนักงานจะได้รับการรักษาและตรวจติดตามอาการจนกว่าจะหายเป็นปกติ ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวอีกด้วย

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพในสถานที่ทำงาน


การดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ธนาคารได้จัดสวัสดิการและกำหนดมาตรการดังต่อไปนี้:


การลา

  • ลากิจ จำนวน 10 วันทำงานต่อปี โดยได้รับเงินเดือนเต็ม เพื่อประกอบกิจธุระ เช่น การติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดูแลการเจ็บป่วย หรือกรณีเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว พนักงานแต่งงาน พนักงานรับปริญญา หรือกรณีอื่น ๆ ตามการอนุมัติของหัวหน้างาน
  • ลาพักร้อน จำนวนอย่างน้อย 10 วันต่อปี ไม่รวมวันหยุดราชการ (ขึ้นกับระยะเวลาการทำงาน)
  • ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 30 วันทำงาน
  • สิทธิลาอุปสมบทครั้งเดียวตลอดอายุการทำงาน เป็นเวลาไม่เกิน 120 วัน
  • สิทธิลาเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งเดียวตลอดอายุการทำงาน เป็นเวลาไม่เกิน 45 วัน โดยได้รับค่าจ้าง


การสนับสนุนครอบครัวพนักงาน

  • สิทธิลาก่อนคลอดและหลังคลอดสำหรับพนักงานผู้มีครรภ์รวมกัน ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน
  • สิทธิลาเพื่อไปดูแลภรรยาที่คลอดบุตร ครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง
  • สิทธิลาเพื่อดูแลครอบครัว 10 วันทำงานต่อปี
  • ห้องปั๊มนมที่มีอุปกรณ์สำหรับเก็บนมพร้อมความเป็นส่วนตัว
  • ทุนการศึกษาบุตรพนักงาน มูลค่าทุนสูงสุด 13,000 บาท ต่อปีการศึกษา สำหรับพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปี


สวัสดิการด้านสุขภาพ

  • สถานพยาบาล คลินิกเวชกรรม ให้การดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบันและพยาบาล คลินิกทันตกรรม และแพทย์ทางเลือก ณ สำนักงานใหญ่
  • ห้องฟิตเนส
  • การสื่อสารภายในเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ เช่น การยศาสตร์ (Ergonomics) สุขภาพและโภชนาการ เป็นต้น
  • การตรวจสุขภาพเฉพาะบุคคล เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยินสำหรับกลุ่มพนักงานคอลเซ็นเตอร์ การตรวจสอบสมรรถภาพปอดและการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายสำหรับกลุ่มพนักงานให้ห้องเก็บเอกสารและงานพิมพ์
  • การเผ้าระวังตัวชี้วัด เช่น อุณหภูมิภายในอาคาร ความชื้น แสงสว่าง เสียง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สารเคมี แบคทีเรียในอากาศและโรงอาหาร คุณภาพน้ำดื่ม สารประกอบไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์ระเหยง่ายในพื้นที่เสี่ยง ธนาคารมีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานด้วยตัวชี้วัดเหล่านี้เป็นประจำเพื่อสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานอย่างน้อยปีละครั้งโดยหน่วยงานภายนอก การประเมินนี้เป็นไปตามข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
  • จัด Safety Day และการรณรงค์ด้านความปลอดภัย
  • จัดให้มีการทำงานที่ยืดหยุ่น ทั้งชั่วโมงการทำงานและสถานที่ทำงาน


ความหลากหลายในที่ทำงาน

ธนาคารมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก เหนือสิ่งอื่นใดธนาคารไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติจากปัจจัยด้าน อายุ เพศ รสนิยมทางเพศ สมรรถภาพทางกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ประเทศต้นกำเนิด สัญชาติ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ธนาคารให้คุณค่ากับความแตกต่างของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่มีการประกาศคำแถลงการณ์เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วม ในปี 2562 โดยได้รับการอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะกรรมการธนาคาร ธนาคารได้รายงานข้อมูลด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ พร้อมทั้งปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อส่งเสริมความมุ่งมั่นของธนาคารอยู่เสมอ

หนึ่งในความตั้งใจของธนาคารคือการมีเป้าหมายที่จะรักษาสัดส่วนของผู้หญิงให้มีมากกว่าร้อยละ 40 ในปี 2566 สำหรับพนักงานทั้งหมด และพนักงานแบ่งตามระดับตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับ พนักงานระดับปฏิบัติการ รวมถึงกลุ่มตำแหน่งในหน่วยงานที่สร้างรายได้ให้กับธนาคาร และกลุ่มพนักงานที่มีทักษะเกี่ยวกับ สะเต็ม (STEM: Science, Technology, Engineering, Mathematics) นอกจากนี้ยังมีกระบวนการกำหนดค่าตอบแทนและโบนัสโดยไม่คำนึงถึงเพศ และมีการตรวจสอบความเท่าเทียมของสัดส่วนค่าตอบแทนอยู่เสมอ

นอกจากสิทธิในที่ทำงานแล้ว ธนาคารยังกำหนดให้พนักงานทุกคนต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรจรรยาบรรณพนักงาน (Code of Conduct) ผ่านทางออนไลน์ โดยมีการทบทวนปีละ 1 ครั้ง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ และสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถประพฤติตนอย่างเหมาะสมกับลูกค้าและบุคคลอื่น

คำแถลงการณ์เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วม

การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน (Human Capital Development)

ธนาคารกำหนดกลยุทธ์การฝึกอบรมที่เน้นการเสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้แก่พนักงานทุกคน อันจะส่งผลให้พนักงานมีความพร้อมที่จะผลักดันให้ธนาคารบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ โดยที่การฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรจะมีเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับทักษะของพนักงานในแต่ละกลุ่มและสอดคล้องกับบริบทของงานและบทบาทของพนักงานในอนาคต ธนาคารวัดมูลค่าของพนักงานในองค์กร ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา (2563-2666) โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 4.0, 2.8, 3.2 และ 3.4 ตามลำดับ


เส้นทางและกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล (HR Roadmap and Strategy)

ธนาคารมุ่งสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในภาคธนาคารพาณิชย์ของประเทศ และเชื่อว่าการเสริมสร้างพนักงานให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะท้าทายและปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ จะส่งผลให้ธนาคารสามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

  • พนักงานของธนาคารมีเส้นทางการเติบโตสายอาชีพที่ชัดเจน ธนาคารกำหนดแผนงานสายอาชีพและแผนพัฒนาบุคคลากรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับศักยภาพของพนักงานแต่ละคนและสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็น
  • การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ (Best Development) ธนาคารส่งเสริมแห่งการเรียนรู้พร้อมแผนการพัฒนาที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน
  • การยกย่องผลงาน (Performance Recognition) ธนาคารมีหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนและการยกย่องชมเชยพนักงานตามผลงาน
  • วัฒนธรรม (Make REAL Change) ธนาคารสนับสนุนให้พนักงานคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์


โครงการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน

ธนาคารมีแผนปรับเปลี่ยนการเรียนรู้และพัฒนาพนักงาน ซึ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการพัฒนาและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นในด้านต่างๆ ต่อไปนี้:

  1. นำรูปแบบการประเมินผลการฝึกอบรม Kirk-Patrick มาใช้ในโครงการพัฒนาระดับสายงาน (Functional Development Program) เพื่อให้มั่นใจว่าแผนพัฒนาต่างๆ ได้มีการพิจารณาถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจและพฤติกรรมที่คาดหวังที่ชัดเจน
  2. ผู้บริหารระดับสูงและผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในการวางแผนโครงการพัฒนาพนักงาน กับสายงานทรัพยากรบุคล เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาพนักงานในสายงาน
  3. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของพนักงาน โดยนำแนวทางพัฒนาด้านต่างๆ มารวมไว้บนแพลทฟอร์มเดียวกัน ได้แก่ ห้องเรียน (Classroom Training) ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practices) การแบ่งปันความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา และใช้ได้กับอุปกรณ์ต่างๆ
  4. ปรับปรุงเนื้อหาสาระของแผนพัฒนาบุคลากรให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการผสานแผนงานต่างๆ เข้าด้วยกัน (Integrated/ Intervention Program) และกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแทนการมีแผนงานกระจัดกระจายหลายด้าน
  5. ปรับปรุงเนื้อหาของ e-learning ให้กระชับมากขึ้น พร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพิ่มความคล่องตัวให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล


แผนการพัฒนาความสามารถหลัก (Core Competency)

ธนาคารออกแบบแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทั้งในด้านความสามารถหลักและภาวะความเป็นผู้นำ โดยกำหนดหัวข้อและเนื้อหาสาระของหลักสูตรให้เหมาะสมกับพนักงานและผู้บริหารแต่ละระดับ ซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมหลักและทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่มีระดับความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน

ปัจจัยสำคัญที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และพัฒนาเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม เช่น พฤติกรรมที่คาดหวัง ทักษะที่จำเป็นและระดับความเชี่ยวชาญ โดยจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และ Community of Practices นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดแผนการฝึกอบรมสำหรับพนักงานทั่วทั้งองค์กรเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาขีดความสามารถที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มาตรฐาน


โครงการพัฒนาภาวะผู้นำ

ธนาคารมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและศักยภาพภาวะการเป็นผู้นำของพนักงานทุกระดับ และได้ดำเนินโครงการพัฒนาภาวะผู้นำที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อให้พนักงานสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ โครงการเหล่านี้จะช่วยพัฒนาแนวคิด ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือที่จำเป็น โครงการฝึกอบรม “First Line Manager” และ “Manager of Manager” ที่ต้องการสร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำในสายงาน โดยหลักสูตรดังกล่าวจะให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด ทักษะและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเป็นหัวหน้างานที่ดี สำหรับการพัฒนาผู้นำระดับอาวุโสและผู้บริหารระดับสูง และเน้นการเปิดมุมมองและความเข้าใจที่มีต่อความท้าทายสำคัญทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับไวในธุรกิจธนาคาร


เวทีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Platform)

ธนาคารได้สร้างเวทีเพื่อการเรียนรู้ขึ้นใหม่ สำหรับให้พนักงานได้เรียนรู้ออนไลน์ และยังสามารถสร้างกลุ่มอภิปรายสำหรับแบ่งปันความรู้ร่วมกันที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก ธนาคารได้บรรจุหัวข้อการเรียนรู้มากกว่า 400 รายการ เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการ


การเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในงาน

ธนาคารได้จัดโปรแกรมฝึกอบรม Functional Training โดยผสานช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งรวมถึงการอบรมในห้องเรียน e-learning และ Community of Practices เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างโปรแกรมฝึกอบรม ได้แก่ การวิเคราะห์สินเชื่อ ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของธนาคาร กฎระเบียบที่สำคัญและระบบการเงินการธนาคาร


การเรียนรู้แบบผสมผสาน

ธนาคารได้นำโมเดลในการพัฒนาและเรียนรู้ 70:20:10 มาใช้ในการพัฒนาพนักงาน โดยเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) และผ่านช่องทางที่หลากหลาย สามารถเลือกการเรียนรู้แบบไฮบริด (Hybrid Channel) ได้ตามความเหมาะสม ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยการเรียนรู้แบบออนไลน์ พนักงานสามารถเรียนผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ ของธนาคารตามแนวคิดการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา โดยบรรจุหัวข้อการเรียนรู้ไว้มากกว่า 500 รายการ เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการได้ สำหรับการเรียนรู้แบบออฟไลน์ ธนาคารได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันหรือองค์กรภายนอก หรือวิทยากรผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรมาถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงาน ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อาทิเช่น การบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การโค้ช การฝึกปฏิบัติ การจำลองสถานการณ์และการทำเวิร์กช็อปเป็นต้นเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพของพนักงานให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน


การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความตระหนักในด้านความปลอดภัย

ธนาคารให้ความสำคัญด้านการบริหารความเสี่ยงและการสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย โดยตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อลูกค้าและชื่อเสียงขององค์กร ธนาคารจึงได้จัดโปรแกรมฝึกอบรมด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยหลายหลักสูตร เช่น การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการองค์กร (Corporate Operational Risk Management) การป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering) การส่งเสริมความตระหนักด้านความเสี่ยงประจำปี 2561 (Promoting risk Awareness 2018) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) แก่พนักงานผ่านช่องทางออนไลน์ที่พนักงานทั่วประเทศสามารถเข้าถึงได้

นอกจากการพัฒนาทักษะเพื่อการเติบโตในสายอาชีพแล้ว จากความมุ่งมั่นของธนาคารที่จะส่งมอบคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับคนไทย พนักงานของธนาคารคือแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะส่งมอบความตั้งใจนี้ให้ถึงมือลูกค้าได้ ดังนั้นการส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความสามารถที่แข็งแกร่งขึ้นจึงเป็นภารกิจสำคัญ


การรักษาพนักงานและการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง

ธนาคารตระหนักดีว่าความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ธนาคารจึงได้ดำเนินการสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรเป็นประจำทุกปี (VOE: Voice of Employee หรือ Employee Engagement Survey) โดยบริษัท คินเซนทริค (ประเทศไทย) จำกัด โดยผลการสำรวจจะถูกนำไปพัฒนา ปรับปรุง เพื่อให้ธนาคารเป็นองค์กรที่น่าทำงานมากยิ่งขึ้น รวมถึงนำไปทำแผนพัฒนาเพื่อยกระดับความผูกพันของพนักงาน และความพึงพอใจของพนักงานต่อไป

พนักงานที่ถือว่ามีความผูกพันกับองค์กร จะต้องมีพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

  • พูดสิ่งดี ๆ เกี่ยวกับองค์กรเมื่อมีโอกาส (Say)
  • ต้องการทำงานอยู่กับองค์กร (Stay)
  • ทุ่มเททำงานให้งานและองค์กรประสบความสำเร็จ (Strive)

ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสร้างประสบการณ์ที่ดี (The Employee Experience) ให้กับพนักงานผ่านตัวขับเคลื่อนความผูกพัน (Engagement drivers) คือ

  • ความเป็นผู้นำที่สร้างความผูกพัน (Engaging Leadership)
  • การให้ความสำคัญกับพนักงาน เช่น แผนการพัฒนาอาชีพ จำนวนพนักงาน การประเมินผลงาน (Talent Focus)
  • ความคล่องตัว เช่น การร่วมมือ ความหลากหลาย การใช้หลักลูกค้าเป็นศุนย์กลาง (Agility)
  • ปัจจัยพื้นฐาน เช่น สุขภาพกาย สุขภาพใจ ความเครียดจากการทำงาน (The Basics)
  • งาน เช่น ความพึงพอใจในตัวงาน ความสุขในการทำงาน งานที่ตอบโจทย์เป้าหมายชีวิต (The Work)

ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพนักงานที่มีศักยภาพ จึงมีการจัดทำเครื่องมือเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานระยะยาว ช่วยให้พนักงานมุ่งมั่นทำงานด้วยความรู้สึกของการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ (Long-term incentives) ผ่านการจัดทำโครงการร่วมทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือ Employee Joint Investment Program (EJIP) ที่ธนาคารช่วยสมทบการลงทุนของพนักงานในการซื้อหุ้นของธนาคารในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยเงินลงทุนทั้งสองส่วนอยู่ภายใต้ชื่อบัญชีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน พนักงานได้รับเงินปันผลและสิทธิในการออกเสียงตามปกติ

ธนาคารได้วางแผนการสืบทอดตำแหน่งงานบริหารระดับสูงที่จะว่างลงเนื่องจากการคาดการณ์การเกษียณอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่นสำหรับผู้สืบทอดตำแหน่งและเกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจ ธนาคารได้ระบุตำแหน่งที่มีความสำคัญและกำหนดโปรไฟล์ของผู้สืบทอดตำแหน่ง โดยผู้ที่มีศักยภาพที่ได้รับการคัดกรองจะได้รับการประเมินความพร้อมด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญต่างๆ ก่อนจะได้เข้าร่วมในโปรแกรมการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็น


พนักงานสัมพันธ์

ธนาคารเคารพสิทธิแรงงานของพนักงานผู้ที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อันควร คณะกรรมการสวัสดิการ (Welfare Committee) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพนักงานทั้งหมด มีการประชุมร่วมกับสายงานทรัพยากรบุคคลในฐานะตัวแทนองค์กรทุก 6 เดือน เพื่อหารือเกี่ยวกับสิทธิของพนักงาน ผลประโยชน์และข้อกังวลต่างๆ โดยจะสรุปประเด็นสำคัญรายงานต่อคณะกรรมการจัดการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยมี 4 สหภาพแรงงาน ได้แก่ สหภาพแรงงานธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานพนักงานธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานกิจการธนาคารทหารไทย และสหภาพแรงงานธนาคารทีเอ็มบี ธนชาต โดยมีพนักงานเข้าร่วมสหภาพแรงงานคิดเป็นร้อยละ 20 ของพนักงาน

ธนาคารและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ควบคุมกำกับดูแลการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน ฯ ประกอบด้วย กรรมการฝ่ายนายจ้างซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และกรรมการฝ่ายลูกจ้างซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกกองทุนเพื่อส่งเสริมให้พนักงานสะสมเงินออมตามอัตราส่วนที่ต้องการส่วนหนึ่ง และธนาคารส่งสมทบตามอัตราส่วนตามอายุงานของพนักงานส่วนหนึ่ง และมีรูปแบบการจัดการกองทุนแบบ Employee’s Choice โดยพนักงานสามารถเลือกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนได้ในอัตราร้อยละ 2-15 ของเงินเดือนของพนักงานแต่ละราย และธนาคารสมทบเงินร้อยละ 5-10 ของเงินเดือนของพนักงานเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นความมั่นคงหลังเกษียณอายุการทำงานของพนักงาน ทั้งนี้ ณ 31 ธันวาคม 2566 ธนาคารมีพนักงาน จำนวน 14,328 คน โดยมีพนักงานที่เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น จำนวน 13,046 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 91


สุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน

ธนาคารกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางกายภาพ (Workplace Safety and Physical Security Policy) ซึ่งระบุแนวทางบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางกายภาพภายในธนาคาร โดยได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง นโยบายดังกล่าวมีขอบเขตครอบคลุมทั้งพนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้มาติดต่อและลูกค้าในทุกสถานที่ตั้งของธนาคาร

เพื่อให้การดูแลความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงามเป็นไปอย่างมีระบบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนจากนายจ้างและลูกจ้าง มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเป็นเลขานุการของคณะ โดยคณะกรรมการฯ มีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านความปลอดภัยที่ได้รับการรายงานจากพนักงาน ปรับปรุงการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงาน เช่น การลดหรือป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพเทียบกับเป้าหมาย คณะกรรมการจะพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและดำเนินงานด้านความปลอดภัยประกอบด้วย แผนกทรัพยากรอาคารและบริการส่วนกลาง แผนกบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการสาขาและสำนักงานขาย

ธนาคารมีการตั้งเป้าหมายอุบัติเหตุเป็นศูนย์และจำนวนวันบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์ ธนาคารดำเนินการตรวจสอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การออกแบบสถานที่ การดูแล สภาพแวดล้อมและการจัดหาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ธนาคารยังใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการปฏิบัติงานโดยจัดอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่พนักงานทุกคน

การบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยอยู่ภายใต้การดูแลระหว่างแผนกความปลอดภัยและแผนกบริหารทรัพยากรบุคคลและพนักงานสัมพันธ์ ทั้งสองหน่วยงานร่วมกันส่งเสริมด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน อีกทั้งมีการกำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัยและใช้ประกอบการพิจารณาการประเมินผลการดำเนินงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ธนาคารมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่เหมาะสม จัดทำแผนการดำเนินงานและเป้าหมายที่ชัดเจน ตลอดจนตรวจประเมินการดำเนินงานด้านความปลอดภัยโดยหน่วยงานภายในและภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ถึงการบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีการรายงานผลการดำเนินงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานแก่ผู้บริหารระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

งานทุกประเภทจะมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งพบว่ามีงาน 3 ลักษณะที่มีความเสี่ยงในระดับสูง ได้แก่ Call Center ซึ่งต้องสัมผัสกับเสียง ห้องเก็บเอกสารและงานพิมพ์เอกสารซึ่งต้องสัมผัสกับไฮโดรคาร์บอนและสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds) แม้ว่าธนาคารจะมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมความเสี่ยงในพื้นที่ดังกล่าว แต่หากพบว่าพนักงานได้รับสารดังกล่าวเกินกว่าระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด พนักงานจะได้รับการรักษาและตรวจติดตามอาการจนกว่าจะหายเป็นปกติ ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวอีกด้วย

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพในสถานที่ทำงาน


การดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ธนาคารได้จัดสวัสดิการและกำหนดมาตรการดังต่อไปนี้:


การลา

  • ลากิจ จำนวน 10 วันทำงานต่อปี โดยได้รับเงินเดือนเต็ม เพื่อประกอบกิจธุระ เช่น การติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดูแลการเจ็บป่วย หรือกรณีเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว พนักงานแต่งงาน พนักงานรับปริญญา หรือกรณีอื่น ๆ ตามการอนุมัติของหัวหน้างาน
  • ลาพักร้อน จำนวนอย่างน้อย 10 วันต่อปี ไม่รวมวันหยุดราชการ (ขึ้นกับระยะเวลาการทำงาน)
  • ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 30 วันทำงาน
  • สิทธิลาอุปสมบทครั้งเดียวตลอดอายุการทำงาน เป็นเวลาไม่เกิน 120 วัน
  • สิทธิลาเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งเดียวตลอดอายุการทำงาน เป็นเวลาไม่เกิน 45 วัน โดยได้รับค่าจ้าง


การสนับสนุนครอบครัวพนักงาน

  • สิทธิลาก่อนคลอดและหลังคลอดสำหรับพนักงานผู้มีครรภ์รวมกัน ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน
  • สิทธิลาเพื่อไปดูแลภรรยาที่คลอดบุตร ครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง
  • สิทธิลาเพื่อดูแลครอบครัว 10 วันทำงานต่อปี
  • ห้องปั๊มนมที่มีอุปกรณ์สำหรับเก็บนมพร้อมความเป็นส่วนตัว
  • ทุนการศึกษาบุตรพนักงาน มูลค่าทุนสูงสุด 13,000 บาท ต่อปีการศึกษา สำหรับพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปี


สวัสดิการด้านสุขภาพ

  • สถานพยาบาล คลินิกเวชกรรม ให้การดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบันและพยาบาล คลินิกทันตกรรม และแพทย์ทางเลือก ณ สำนักงานใหญ่
  • ห้องฟิตเนส
  • การสื่อสารภายในเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ เช่น การยศาสตร์ (Ergonomics) สุขภาพและโภชนาการ เป็นต้น
  • การตรวจสุขภาพเฉพาะบุคคล เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยินสำหรับกลุ่มพนักงานคอลเซ็นเตอร์ การตรวจสอบสมรรถภาพปอดและการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายสำหรับกลุ่มพนักงานให้ห้องเก็บเอกสารและงานพิมพ์
  • การเผ้าระวังตัวชี้วัด เช่น อุณหภูมิภายในอาคาร ความชื้น แสงสว่าง เสียง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สารเคมี แบคทีเรียในอากาศและโรงอาหาร คุณภาพน้ำดื่ม สารประกอบไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์ระเหยง่ายในพื้นที่เสี่ยง ธนาคารมีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานด้วยตัวชี้วัดเหล่านี้เป็นประจำเพื่อสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานอย่างน้อยปีละครั้งโดยหน่วยงานภายนอก การประเมินนี้เป็นไปตามข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
  • จัด Safety Day และการรณรงค์ด้านความปลอดภัย
  • จัดให้มีการทำงานที่ยืดหยุ่น ทั้งชั่วโมงการทำงานและสถานที่ทำงาน


ความหลากหลายในที่ทำงาน

ธนาคารมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก เหนือสิ่งอื่นใดธนาคารไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติจากปัจจัยด้าน อายุ เพศ รสนิยมทางเพศ สมรรถภาพทางกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ประเทศต้นกำเนิด สัญชาติ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ธนาคารให้คุณค่ากับความแตกต่างของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่มีการประกาศคำแถลงการณ์เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วม ในปี 2562 โดยได้รับการอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะกรรมการธนาคาร ธนาคารได้รายงานข้อมูลด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ พร้อมทั้งปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อส่งเสริมความมุ่งมั่นของธนาคารอยู่เสมอ

หนึ่งในความตั้งใจของธนาคารคือการมีเป้าหมายที่จะรักษาสัดส่วนของผู้หญิงให้มีมากกว่าร้อยละ 40 ในปี 2566 สำหรับพนักงานทั้งหมด และพนักงานแบ่งตามระดับตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับ พนักงานระดับปฏิบัติการ รวมถึงกลุ่มตำแหน่งในหน่วยงานที่สร้างรายได้ให้กับธนาคาร และกลุ่มพนักงานที่มีทักษะเกี่ยวกับ สะเต็ม (STEM: Science, Technology, Engineering, Mathematics) นอกจากนี้ยังมีกระบวนการกำหนดค่าตอบแทนและโบนัสโดยไม่คำนึงถึงเพศ และมีการตรวจสอบความเท่าเทียมของสัดส่วนค่าตอบแทนอยู่เสมอ

นอกจากสิทธิในที่ทำงานแล้ว ธนาคารยังกำหนดให้พนักงานทุกคนต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรจรรยาบรรณพนักงาน (Code of Conduct) ผ่านทางออนไลน์ โดยมีการทบทวนปีละ 1 ครั้ง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ และสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถประพฤติตนอย่างเหมาะสมกับลูกค้าและบุคคลอื่น

คำแถลงการณ์เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วม

การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน (Human Capital Development)

ธนาคารกำหนดกลยุทธ์การฝึกอบรมที่เน้นการเสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้แก่พนักงานทุกคน อันจะส่งผลให้พนักงานมีความพร้อมที่จะผลักดันให้ธนาคารบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ โดยที่การฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรจะมีเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับทักษะของพนักงานในแต่ละกลุ่มและสอดคล้องกับบริบทของงานและบทบาทของพนักงานในอนาคต ธนาคารวัดมูลค่าของพนักงานในองค์กร ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา (2563-2666) โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 4.0, 2.8, 3.2 และ 3.4 ตามลำดับ


เส้นทางและกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล (HR Roadmap and Strategy)

ธนาคารมุ่งสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในภาคธนาคารพาณิชย์ของประเทศ และเชื่อว่าการเสริมสร้างพนักงานให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะท้าทายและปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ จะส่งผลให้ธนาคารสามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

  • พนักงานของธนาคารมีเส้นทางการเติบโตสายอาชีพที่ชัดเจน ธนาคารกำหนดแผนงานสายอาชีพและแผนพัฒนาบุคคลากรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับศักยภาพของพนักงานแต่ละคนและสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็น
  • การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ (Best Development) ธนาคารส่งเสริมแห่งการเรียนรู้พร้อมแผนการพัฒนาที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน
  • การยกย่องผลงาน (Performance Recognition) ธนาคารมีหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนและการยกย่องชมเชยพนักงานตามผลงาน
  • วัฒนธรรม (Make REAL Change) ธนาคารสนับสนุนให้พนักงานคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์


โครงการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน

ธนาคารมีแผนปรับเปลี่ยนการเรียนรู้และพัฒนาพนักงาน ซึ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการพัฒนาและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นในด้านต่างๆ ต่อไปนี้:

  1. นำรูปแบบการประเมินผลการฝึกอบรม Kirk-Patrick มาใช้ในโครงการพัฒนาระดับสายงาน (Functional Development Program) เพื่อให้มั่นใจว่าแผนพัฒนาต่างๆ ได้มีการพิจารณาถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจและพฤติกรรมที่คาดหวังที่ชัดเจน
  2. ผู้บริหารระดับสูงและผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในการวางแผนโครงการพัฒนาพนักงาน กับสายงานทรัพยากรบุคล เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาพนักงานในสายงาน
  3. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของพนักงาน โดยนำแนวทางพัฒนาด้านต่างๆ มารวมไว้บนแพลทฟอร์มเดียวกัน ได้แก่ ห้องเรียน (Classroom Training) ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practices) การแบ่งปันความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา และใช้ได้กับอุปกรณ์ต่างๆ
  4. ปรับปรุงเนื้อหาสาระของแผนพัฒนาบุคลากรให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการผสานแผนงานต่างๆ เข้าด้วยกัน (Integrated/ Intervention Program) และกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแทนการมีแผนงานกระจัดกระจายหลายด้าน
  5. ปรับปรุงเนื้อหาของ e-learning ให้กระชับมากขึ้น พร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพิ่มความคล่องตัวให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล


แผนการพัฒนาความสามารถหลัก (Core Competency)

ธนาคารออกแบบแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทั้งในด้านความสามารถหลักและภาวะความเป็นผู้นำ โดยกำหนดหัวข้อและเนื้อหาสาระของหลักสูตรให้เหมาะสมกับพนักงานและผู้บริหารแต่ละระดับ ซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมหลักและทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่มีระดับความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน

ปัจจัยสำคัญที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และพัฒนาเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม เช่น พฤติกรรมที่คาดหวัง ทักษะที่จำเป็นและระดับความเชี่ยวชาญ โดยจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และ Community of Practices นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดแผนการฝึกอบรมสำหรับพนักงานทั่วทั้งองค์กรเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาขีดความสามารถที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มาตรฐาน


โครงการพัฒนาภาวะผู้นำ

ธนาคารมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและศักยภาพภาวะการเป็นผู้นำของพนักงานทุกระดับ และได้ดำเนินโครงการพัฒนาภาวะผู้นำที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อให้พนักงานสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ โครงการเหล่านี้จะช่วยพัฒนาแนวคิด ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือที่จำเป็น โครงการฝึกอบรม “First Line Manager” และ “Manager of Manager” ที่ต้องการสร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำในสายงาน โดยหลักสูตรดังกล่าวจะให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด ทักษะและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเป็นหัวหน้างานที่ดี สำหรับการพัฒนาผู้นำระดับอาวุโสและผู้บริหารระดับสูง และเน้นการเปิดมุมมองและความเข้าใจที่มีต่อความท้าทายสำคัญทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับไวในธุรกิจธนาคาร


เวทีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Platform)

ธนาคารได้สร้างเวทีเพื่อการเรียนรู้ขึ้นใหม่ สำหรับให้พนักงานได้เรียนรู้ออนไลน์ และยังสามารถสร้างกลุ่มอภิปรายสำหรับแบ่งปันความรู้ร่วมกันที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก ธนาคารได้บรรจุหัวข้อการเรียนรู้มากกว่า 400 รายการ เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการ


การเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในงาน

ธนาคารได้จัดโปรแกรมฝึกอบรม Functional Training โดยผสานช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งรวมถึงการอบรมในห้องเรียน e-learning และ Community of Practices เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างโปรแกรมฝึกอบรม ได้แก่ การวิเคราะห์สินเชื่อ ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของธนาคาร กฎระเบียบที่สำคัญและระบบการเงินการธนาคาร


การเรียนรู้แบบผสมผสาน

ธนาคารได้นำโมเดลในการพัฒนาและเรียนรู้ 70:20:10 มาใช้ในการพัฒนาพนักงาน โดยเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) และผ่านช่องทางที่หลากหลาย สามารถเลือกการเรียนรู้แบบไฮบริด (Hybrid Channel) ได้ตามความเหมาะสม ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยการเรียนรู้แบบออนไลน์ พนักงานสามารถเรียนผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ ของธนาคารตามแนวคิดการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา โดยบรรจุหัวข้อการเรียนรู้ไว้มากกว่า 500 รายการ เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการได้ สำหรับการเรียนรู้แบบออฟไลน์ ธนาคารได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันหรือองค์กรภายนอก หรือวิทยากรผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรมาถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงาน ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อาทิเช่น การบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การโค้ช การฝึกปฏิบัติ การจำลองสถานการณ์และการทำเวิร์กช็อปเป็นต้นเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพของพนักงานให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน


การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความตระหนักในด้านความปลอดภัย

ธนาคารให้ความสำคัญด้านการบริหารความเสี่ยงและการสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย โดยตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อลูกค้าและชื่อเสียงขององค์กร ธนาคารจึงได้จัดโปรแกรมฝึกอบรมด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยหลายหลักสูตร เช่น การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการองค์กร (Corporate Operational Risk Management) การป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering) การส่งเสริมความตระหนักด้านความเสี่ยงประจำปี 2561 (Promoting risk Awareness 2018) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) แก่พนักงานผ่านช่องทางออนไลน์ที่พนักงานทั่วประเทศสามารถเข้าถึงได้

นอกจากการพัฒนาทักษะเพื่อการเติบโตในสายอาชีพแล้ว จากความมุ่งมั่นของธนาคารที่จะส่งมอบคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับคนไทย พนักงานของธนาคารคือแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะส่งมอบความตั้งใจนี้ให้ถึงมือลูกค้าได้ ดังนั้นการส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความสามารถที่แข็งแกร่งขึ้นจึงเป็นภารกิจสำคัญ


การรักษาพนักงานและการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง

ธนาคารตระหนักดีว่าความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ธนาคารจึงได้ดำเนินการสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรเป็นประจำทุกปี (VOE: Voice of Employee หรือ Employee Engagement Survey) โดยบริษัท คินเซนทริค (ประเทศไทย) จำกัด โดยผลการสำรวจจะถูกนำไปพัฒนา ปรับปรุง เพื่อให้ธนาคารเป็นองค์กรที่น่าทำงานมากยิ่งขึ้น รวมถึงนำไปทำแผนพัฒนาเพื่อยกระดับความผูกพันของพนักงาน และความพึงพอใจของพนักงานต่อไป

พนักงานที่ถือว่ามีความผูกพันกับองค์กร จะต้องมีพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

  • พูดสิ่งดี ๆ เกี่ยวกับองค์กรเมื่อมีโอกาส (Say)
  • ต้องการทำงานอยู่กับองค์กร (Stay)
  • ทุ่มเททำงานให้งานและองค์กรประสบความสำเร็จ (Strive)

ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสร้างประสบการณ์ที่ดี (The Employee Experience) ให้กับพนักงานผ่านตัวขับเคลื่อนความผูกพัน (Engagement drivers) คือ

  • ความเป็นผู้นำที่สร้างความผูกพัน (Engaging Leadership)
  • การให้ความสำคัญกับพนักงาน เช่น แผนการพัฒนาอาชีพ จำนวนพนักงาน การประเมินผลงาน (Talent Focus)
  • ความคล่องตัว เช่น การร่วมมือ ความหลากหลาย การใช้หลักลูกค้าเป็นศุนย์กลาง (Agility)
  • ปัจจัยพื้นฐาน เช่น สุขภาพกาย สุขภาพใจ ความเครียดจากการทำงาน (The Basics)
  • งาน เช่น ความพึงพอใจในตัวงาน ความสุขในการทำงาน งานที่ตอบโจทย์เป้าหมายชีวิต (The Work)

ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพนักงานที่มีศักยภาพ จึงมีการจัดทำเครื่องมือเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานระยะยาว ช่วยให้พนักงานมุ่งมั่นทำงานด้วยความรู้สึกของการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ (Long-term incentives) ผ่านการจัดทำโครงการร่วมทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือ Employee Joint Investment Program (EJIP) ที่ธนาคารช่วยสมทบการลงทุนของพนักงานในการซื้อหุ้นของธนาคารในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยเงินลงทุนทั้งสองส่วนอยู่ภายใต้ชื่อบัญชีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน พนักงานได้รับเงินปันผลและสิทธิในการออกเสียงตามปกติ

ธนาคารได้วางแผนการสืบทอดตำแหน่งงานบริหารระดับสูงที่จะว่างลงเนื่องจากการคาดการณ์การเกษียณอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่นสำหรับผู้สืบทอดตำแหน่งและเกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจ ธนาคารได้ระบุตำแหน่งที่มีความสำคัญและกำหนดโปรไฟล์ของผู้สืบทอดตำแหน่ง โดยผู้ที่มีศักยภาพที่ได้รับการคัดกรองจะได้รับการประเมินความพร้อมด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญต่างๆ ก่อนจะได้เข้าร่วมในโปรแกรมการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็น


พนักงานสัมพันธ์

ธนาคารเคารพสิทธิแรงงานของพนักงานผู้ที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อันควร คณะกรรมการสวัสดิการ (Welfare Committee) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพนักงานทั้งหมด มีการประชุมร่วมกับสายงานทรัพยากรบุคคลในฐานะตัวแทนองค์กรทุก 6 เดือน เพื่อหารือเกี่ยวกับสิทธิของพนักงาน ผลประโยชน์และข้อกังวลต่างๆ โดยจะสรุปประเด็นสำคัญรายงานต่อคณะกรรมการจัดการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยมี 4 สหภาพแรงงาน ได้แก่ สหภาพแรงงานธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานพนักงานธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานกิจการธนาคารทหารไทย และสหภาพแรงงานธนาคารทีเอ็มบี ธนชาต โดยมีพนักงานเข้าร่วมสหภาพแรงงานคิดเป็นร้อยละ 20 ของพนักงาน

ธนาคารและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ควบคุมกำกับดูแลการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน ฯ ประกอบด้วย กรรมการฝ่ายนายจ้างซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และกรรมการฝ่ายลูกจ้างซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกกองทุนเพื่อส่งเสริมให้พนักงานสะสมเงินออมตามอัตราส่วนที่ต้องการส่วนหนึ่ง และธนาคารส่งสมทบตามอัตราส่วนตามอายุงานของพนักงานส่วนหนึ่ง และมีรูปแบบการจัดการกองทุนแบบ Employee’s Choice โดยพนักงานสามารถเลือกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนได้ในอัตราร้อยละ 2-15 ของเงินเดือนของพนักงานแต่ละราย และธนาคารสมทบเงินร้อยละ 5-10 ของเงินเดือนของพนักงานเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นความมั่นคงหลังเกษียณอายุการทำงานของพนักงาน ทั้งนี้ ณ 31 ธันวาคม 2566 ธนาคารมีพนักงาน จำนวน 14,328 คน โดยมีพนักงานที่เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น จำนวน 13,046 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 91


สุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน

ธนาคารกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางกายภาพ (Workplace Safety and Physical Security Policy) ซึ่งระบุแนวทางบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางกายภาพภายในธนาคาร โดยได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง นโยบายดังกล่าวมีขอบเขตครอบคลุมทั้งพนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้มาติดต่อและลูกค้าในทุกสถานที่ตั้งของธนาคาร

เพื่อให้การดูแลความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงามเป็นไปอย่างมีระบบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนจากนายจ้างและลูกจ้าง มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเป็นเลขานุการของคณะ โดยคณะกรรมการฯ มีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านความปลอดภัยที่ได้รับการรายงานจากพนักงาน ปรับปรุงการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงาน เช่น การลดหรือป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพเทียบกับเป้าหมาย คณะกรรมการจะพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและดำเนินงานด้านความปลอดภัยประกอบด้วย แผนกทรัพยากรอาคารและบริการส่วนกลาง แผนกบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการสาขาและสำนักงานขาย

ธนาคารมีการตั้งเป้าหมายอุบัติเหตุเป็นศูนย์และจำนวนวันบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์ ธนาคารดำเนินการตรวจสอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การออกแบบสถานที่ การดูแล สภาพแวดล้อมและการจัดหาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ธนาคารยังใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการปฏิบัติงานโดยจัดอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่พนักงานทุกคน

การบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยอยู่ภายใต้การดูแลระหว่างแผนกความปลอดภัยและแผนกบริหารทรัพยากรบุคคลและพนักงานสัมพันธ์ ทั้งสองหน่วยงานร่วมกันส่งเสริมด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน อีกทั้งมีการกำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัยและใช้ประกอบการพิจารณาการประเมินผลการดำเนินงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ธนาคารมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่เหมาะสม จัดทำแผนการดำเนินงานและเป้าหมายที่ชัดเจน ตลอดจนตรวจประเมินการดำเนินงานด้านความปลอดภัยโดยหน่วยงานภายในและภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ถึงการบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีการรายงานผลการดำเนินงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานแก่ผู้บริหารระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

งานทุกประเภทจะมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งพบว่ามีงาน 3 ลักษณะที่มีความเสี่ยงในระดับสูง ได้แก่ Call Center ซึ่งต้องสัมผัสกับเสียง ห้องเก็บเอกสารและงานพิมพ์เอกสารซึ่งต้องสัมผัสกับไฮโดรคาร์บอนและสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds) แม้ว่าธนาคารจะมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมความเสี่ยงในพื้นที่ดังกล่าว แต่หากพบว่าพนักงานได้รับสารดังกล่าวเกินกว่าระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด พนักงานจะได้รับการรักษาและตรวจติดตามอาการจนกว่าจะหายเป็นปกติ ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวอีกด้วย

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพในสถานที่ทำงาน


การดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ธนาคารได้จัดสวัสดิการและกำหนดมาตรการดังต่อไปนี้:


การลา

  • ลากิจ จำนวน 10 วันทำงานต่อปี โดยได้รับเงินเดือนเต็ม เพื่อประกอบกิจธุระ เช่น การติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดูแลการเจ็บป่วย หรือกรณีเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว พนักงานแต่งงาน พนักงานรับปริญญา หรือกรณีอื่น ๆ ตามการอนุมัติของหัวหน้างาน
  • ลาพักร้อน จำนวนอย่างน้อย 10 วันต่อปี ไม่รวมวันหยุดราชการ (ขึ้นกับระยะเวลาการทำงาน)
  • ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 30 วันทำงาน
  • สิทธิลาอุปสมบทครั้งเดียวตลอดอายุการทำงาน เป็นเวลาไม่เกิน 120 วัน
  • สิทธิลาเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งเดียวตลอดอายุการทำงาน เป็นเวลาไม่เกิน 45 วัน โดยได้รับค่าจ้าง


การสนับสนุนครอบครัวพนักงาน

  • สิทธิลาก่อนคลอดและหลังคลอดสำหรับพนักงานผู้มีครรภ์รวมกัน ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน
  • สิทธิลาเพื่อไปดูแลภรรยาที่คลอดบุตร ครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง
  • สิทธิลาเพื่อดูแลครอบครัว 10 วันทำงานต่อปี
  • ห้องปั๊มนมที่มีอุปกรณ์สำหรับเก็บนมพร้อมความเป็นส่วนตัว
  • ทุนการศึกษาบุตรพนักงาน มูลค่าทุนสูงสุด 13,000 บาท ต่อปีการศึกษา สำหรับพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปี


สวัสดิการด้านสุขภาพ

  • สถานพยาบาล คลินิกเวชกรรม ให้การดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบันและพยาบาล คลินิกทันตกรรม และแพทย์ทางเลือก ณ สำนักงานใหญ่
  • ห้องฟิตเนส
  • การสื่อสารภายในเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ เช่น การยศาสตร์ (Ergonomics) สุขภาพและโภชนาการ เป็นต้น
  • การตรวจสุขภาพเฉพาะบุคคล เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยินสำหรับกลุ่มพนักงานคอลเซ็นเตอร์ การตรวจสอบสมรรถภาพปอดและการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายสำหรับกลุ่มพนักงานให้ห้องเก็บเอกสารและงานพิมพ์
  • การเผ้าระวังตัวชี้วัด เช่น อุณหภูมิภายในอาคาร ความชื้น แสงสว่าง เสียง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สารเคมี แบคทีเรียในอากาศและโรงอาหาร คุณภาพน้ำดื่ม สารประกอบไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์ระเหยง่ายในพื้นที่เสี่ยง ธนาคารมีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานด้วยตัวชี้วัดเหล่านี้เป็นประจำเพื่อสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานอย่างน้อยปีละครั้งโดยหน่วยงานภายนอก การประเมินนี้เป็นไปตามข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
  • จัด Safety Day และการรณรงค์ด้านความปลอดภัย
  • จัดให้มีการทำงานที่ยืดหยุ่น ทั้งชั่วโมงการทำงานและสถานที่ทำงาน


ความหลากหลายในที่ทำงาน

ธนาคารมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก เหนือสิ่งอื่นใดธนาคารไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติจากปัจจัยด้าน อายุ เพศ รสนิยมทางเพศ สมรรถภาพทางกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ประเทศต้นกำเนิด สัญชาติ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ธนาคารให้คุณค่ากับความแตกต่างของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่มีการประกาศคำแถลงการณ์เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วม ในปี 2562 โดยได้รับการอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะกรรมการธนาคาร ธนาคารได้รายงานข้อมูลด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ พร้อมทั้งปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อส่งเสริมความมุ่งมั่นของธนาคารอยู่เสมอ

หนึ่งในความตั้งใจของธนาคารคือการมีเป้าหมายที่จะรักษาสัดส่วนของผู้หญิงให้มีมากกว่าร้อยละ 40 ในปี 2566 สำหรับพนักงานทั้งหมด และพนักงานแบ่งตามระดับตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับ พนักงานระดับปฏิบัติการ รวมถึงกลุ่มตำแหน่งในหน่วยงานที่สร้างรายได้ให้กับธนาคาร และกลุ่มพนักงานที่มีทักษะเกี่ยวกับ สะเต็ม (STEM: Science, Technology, Engineering, Mathematics) นอกจากนี้ยังมีกระบวนการกำหนดค่าตอบแทนและโบนัสโดยไม่คำนึงถึงเพศ และมีการตรวจสอบความเท่าเทียมของสัดส่วนค่าตอบแทนอยู่เสมอ

นอกจากสิทธิในที่ทำงานแล้ว ธนาคารยังกำหนดให้พนักงานทุกคนต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรจรรยาบรรณพนักงาน (Code of Conduct) ผ่านทางออนไลน์ โดยมีการทบทวนปีละ 1 ครั้ง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ และสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถประพฤติตนอย่างเหมาะสมกับลูกค้าและบุคคลอื่น

คำแถลงการณ์เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วม

การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน (Human Capital Development)

ธนาคารกำหนดกลยุทธ์การฝึกอบรมที่เน้นการเสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้แก่พนักงานทุกคน อันจะส่งผลให้พนักงานมีความพร้อมที่จะผลักดันให้ธนาคารบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ โดยที่การฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรจะมีเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับทักษะของพนักงานในแต่ละกลุ่มและสอดคล้องกับบริบทของงานและบทบาทของพนักงานในอนาคต ธนาคารวัดมูลค่าของพนักงานในองค์กร ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา (2563-2666) โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 4.0, 2.8, 3.2 และ 3.4 ตามลำดับ


เส้นทางและกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล (HR Roadmap and Strategy)

ธนาคารมุ่งสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในภาคธนาคารพาณิชย์ของประเทศ และเชื่อว่าการเสริมสร้างพนักงานให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะท้าทายและปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ จะส่งผลให้ธนาคารสามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

  • พนักงานของธนาคารมีเส้นทางการเติบโตสายอาชีพที่ชัดเจน ธนาคารกำหนดแผนงานสายอาชีพและแผนพัฒนาบุคคลากรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับศักยภาพของพนักงานแต่ละคนและสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็น
  • การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ (Best Development) ธนาคารส่งเสริมแห่งการเรียนรู้พร้อมแผนการพัฒนาที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน
  • การยกย่องผลงาน (Performance Recognition) ธนาคารมีหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนและการยกย่องชมเชยพนักงานตามผลงาน
  • วัฒนธรรม (Make REAL Change) ธนาคารสนับสนุนให้พนักงานคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์


โครงการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน

ธนาคารมีแผนปรับเปลี่ยนการเรียนรู้และพัฒนาพนักงาน ซึ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการพัฒนาและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นในด้านต่างๆ ต่อไปนี้:

  1. นำรูปแบบการประเมินผลการฝึกอบรม Kirk-Patrick มาใช้ในโครงการพัฒนาระดับสายงาน (Functional Development Program) เพื่อให้มั่นใจว่าแผนพัฒนาต่างๆ ได้มีการพิจารณาถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจและพฤติกรรมที่คาดหวังที่ชัดเจน
  2. ผู้บริหารระดับสูงและผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในการวางแผนโครงการพัฒนาพนักงาน กับสายงานทรัพยากรบุคล เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาพนักงานในสายงาน
  3. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของพนักงาน โดยนำแนวทางพัฒนาด้านต่างๆ มารวมไว้บนแพลทฟอร์มเดียวกัน ได้แก่ ห้องเรียน (Classroom Training) ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practices) การแบ่งปันความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา และใช้ได้กับอุปกรณ์ต่างๆ
  4. ปรับปรุงเนื้อหาสาระของแผนพัฒนาบุคลากรให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการผสานแผนงานต่างๆ เข้าด้วยกัน (Integrated/ Intervention Program) และกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแทนการมีแผนงานกระจัดกระจายหลายด้าน
  5. ปรับปรุงเนื้อหาของ e-learning ให้กระชับมากขึ้น พร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพิ่มความคล่องตัวให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล


แผนการพัฒนาความสามารถหลัก (Core Competency)

ธนาคารออกแบบแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทั้งในด้านความสามารถหลักและภาวะความเป็นผู้นำ โดยกำหนดหัวข้อและเนื้อหาสาระของหลักสูตรให้เหมาะสมกับพนักงานและผู้บริหารแต่ละระดับ ซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมหลักและทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่มีระดับความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน

ปัจจัยสำคัญที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และพัฒนาเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม เช่น พฤติกรรมที่คาดหวัง ทักษะที่จำเป็นและระดับความเชี่ยวชาญ โดยจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และ Community of Practices นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดแผนการฝึกอบรมสำหรับพนักงานทั่วทั้งองค์กรเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาขีดความสามารถที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มาตรฐาน


โครงการพัฒนาภาวะผู้นำ

ธนาคารมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและศักยภาพภาวะการเป็นผู้นำของพนักงานทุกระดับ และได้ดำเนินโครงการพัฒนาภาวะผู้นำที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อให้พนักงานสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ โครงการเหล่านี้จะช่วยพัฒนาแนวคิด ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือที่จำเป็น โครงการฝึกอบรม “First Line Manager” และ “Manager of Manager” ที่ต้องการสร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นำในสายงาน โดยหลักสูตรดังกล่าวจะให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด ทักษะและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเป็นหัวหน้างานที่ดี สำหรับการพัฒนาผู้นำระดับอาวุโสและผู้บริหารระดับสูง และเน้นการเปิดมุมมองและความเข้าใจที่มีต่อความท้าทายสำคัญทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับไวในธุรกิจธนาคาร


เวทีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Platform)

ธนาคารได้สร้างเวทีเพื่อการเรียนรู้ขึ้นใหม่ สำหรับให้พนักงานได้เรียนรู้ออนไลน์ และยังสามารถสร้างกลุ่มอภิปรายสำหรับแบ่งปันความรู้ร่วมกันที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก ธนาคารได้บรรจุหัวข้อการเรียนรู้มากกว่า 400 รายการ เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการ


การเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในงาน

ธนาคารได้จัดโปรแกรมฝึกอบรม Functional Training โดยผสานช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งรวมถึงการอบรมในห้องเรียน e-learning และ Community of Practices เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างโปรแกรมฝึกอบรม ได้แก่ การวิเคราะห์สินเชื่อ ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของธนาคาร กฎระเบียบที่สำคัญและระบบการเงินการธนาคาร


การเรียนรู้แบบผสมผสาน

ธนาคารได้นำโมเดลในการพัฒนาและเรียนรู้ 70:20:10 มาใช้ในการพัฒนาพนักงาน โดยเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) และผ่านช่องทางที่หลากหลาย สามารถเลือกการเรียนรู้แบบไฮบริด (Hybrid Channel) ได้ตามความเหมาะสม ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยการเรียนรู้แบบออนไลน์ พนักงานสามารถเรียนผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ ของธนาคารตามแนวคิดการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา โดยบรรจุหัวข้อการเรียนรู้ไว้มากกว่า 500 รายการ เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกโปรแกรมที่ตรงกับความต้องการได้ สำหรับการเรียนรู้แบบออฟไลน์ ธนาคารได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันหรือองค์กรภายนอก หรือวิทยากรผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรมาถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงาน ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อาทิเช่น การบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การโค้ช การฝึกปฏิบัติ การจำลองสถานการณ์และการทำเวิร์กช็อปเป็นต้นเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพของพนักงานให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน


การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความตระหนักในด้านความปลอดภัย

ธนาคารให้ความสำคัญด้านการบริหารความเสี่ยงและการสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย โดยตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อลูกค้าและชื่อเสียงขององค์กร ธนาคารจึงได้จัดโปรแกรมฝึกอบรมด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยหลายหลักสูตร เช่น การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการองค์กร (Corporate Operational Risk Management) การป้องกันการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering) การส่งเสริมความตระหนักด้านความเสี่ยงประจำปี 2561 (Promoting risk Awareness 2018) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) แก่พนักงานผ่านช่องทางออนไลน์ที่พนักงานทั่วประเทศสามารถเข้าถึงได้

นอกจากการพัฒนาทักษะเพื่อการเติบโตในสายอาชีพแล้ว จากความมุ่งมั่นของธนาคารที่จะส่งมอบคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับคนไทย พนักงานของธนาคารคือแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะส่งมอบความตั้งใจนี้ให้ถึงมือลูกค้าได้ ดังนั้นการส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความสามารถที่แข็งแกร่งขึ้นจึงเป็นภารกิจสำคัญ


การรักษาพนักงานและการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง

ธนาคารตระหนักดีว่าความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ธนาคารจึงได้ดำเนินการสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรเป็นประจำทุกปี (VOE: Voice of Employee หรือ Employee Engagement Survey) โดยบริษัท คินเซนทริค (ประเทศไทย) จำกัด โดยผลการสำรวจจะถูกนำไปพัฒนา ปรับปรุง เพื่อให้ธนาคารเป็นองค์กรที่น่าทำงานมากยิ่งขึ้น รวมถึงนำไปทำแผนพัฒนาเพื่อยกระดับความผูกพันของพนักงาน และความพึงพอใจของพนักงานต่อไป

พนักงานที่ถือว่ามีความผูกพันกับองค์กร จะต้องมีพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

  • พูดสิ่งดี ๆ เกี่ยวกับองค์กรเมื่อมีโอกาส (Say)
  • ต้องการทำงานอยู่กับองค์กร (Stay)
  • ทุ่มเททำงานให้งานและองค์กรประสบความสำเร็จ (Strive)

ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสร้างประสบการณ์ที่ดี (The Employee Experience) ให้กับพนักงานผ่านตัวขับเคลื่อนความผูกพัน (Engagement drivers) คือ

  • ความเป็นผู้นำที่สร้างความผูกพัน (Engaging Leadership)
  • การให้ความสำคัญกับพนักงาน เช่น แผนการพัฒนาอาชีพ จำนวนพนักงาน การประเมินผลงาน (Talent Focus)
  • ความคล่องตัว เช่น การร่วมมือ ความหลากหลาย การใช้หลักลูกค้าเป็นศุนย์กลาง (Agility)
  • ปัจจัยพื้นฐาน เช่น สุขภาพกาย สุขภาพใจ ความเครียดจากการทำงาน (The Basics)
  • งาน เช่น ความพึงพอใจในตัวงาน ความสุขในการทำงาน งานที่ตอบโจทย์เป้าหมายชีวิต (The Work)

ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพนักงานที่มีศักยภาพ จึงมีการจัดทำเครื่องมือเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานระยะยาว ช่วยให้พนักงานมุ่งมั่นทำงานด้วยความรู้สึกของการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ (Long-term incentives) ผ่านการจัดทำโครงการร่วมทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือ Employee Joint Investment Program (EJIP) ที่ธนาคารช่วยสมทบการลงทุนของพนักงานในการซื้อหุ้นของธนาคารในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยเงินลงทุนทั้งสองส่วนอยู่ภายใต้ชื่อบัญชีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน พนักงานได้รับเงินปันผลและสิทธิในการออกเสียงตามปกติ

ธนาคารได้วางแผนการสืบทอดตำแหน่งงานบริหารระดับสูงที่จะว่างลงเนื่องจากการคาดการณ์การเกษียณอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่นสำหรับผู้สืบทอดตำแหน่งและเกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจ ธนาคารได้ระบุตำแหน่งที่มีความสำคัญและกำหนดโปรไฟล์ของผู้สืบทอดตำแหน่ง โดยผู้ที่มีศักยภาพที่ได้รับการคัดกรองจะได้รับการประเมินความพร้อมด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญต่างๆ ก่อนจะได้เข้าร่วมในโปรแกรมการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็น


พนักงานสัมพันธ์

ธนาคารเคารพสิทธิแรงงานของพนักงานผู้ที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อันควร คณะกรรมการสวัสดิการ (Welfare Committee) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพนักงานทั้งหมด มีการประชุมร่วมกับสายงานทรัพยากรบุคคลในฐานะตัวแทนองค์กรทุก 6 เดือน เพื่อหารือเกี่ยวกับสิทธิของพนักงาน ผลประโยชน์และข้อกังวลต่างๆ โดยจะสรุปประเด็นสำคัญรายงานต่อคณะกรรมการจัดการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยมี 4 สหภาพแรงงาน ได้แก่ สหภาพแรงงานธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานพนักงานธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานกิจการธนาคารทหารไทย และสหภาพแรงงานธนาคารทีเอ็มบี ธนชาต โดยมีพนักงานเข้าร่วมสหภาพแรงงานคิดเป็นร้อยละ 20 ของพนักงาน

ธนาคารและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ควบคุมกำกับดูแลการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน ฯ ประกอบด้วย กรรมการฝ่ายนายจ้างซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และกรรมการฝ่ายลูกจ้างซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกกองทุนเพื่อส่งเสริมให้พนักงานสะสมเงินออมตามอัตราส่วนที่ต้องการส่วนหนึ่ง และธนาคารส่งสมทบตามอัตราส่วนตามอายุงานของพนักงานส่วนหนึ่ง และมีรูปแบบการจัดการกองทุนแบบ Employee’s Choice โดยพนักงานสามารถเลือกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนได้ในอัตราร้อยละ 2-15 ของเงินเดือนของพนักงานแต่ละราย และธนาคารสมทบเงินร้อยละ 5-10 ของเงินเดือนของพนักงานเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นความมั่นคงหลังเกษียณอายุการทำงานของพนักงาน ทั้งนี้ ณ 31 ธันวาคม 2566 ธนาคารมีพนักงาน จำนวน 14,328 คน โดยมีพนักงานที่เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น จำนวน 13,046 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 91


สุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน

ธนาคารกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางกายภาพ (Workplace Safety and Physical Security Policy) ซึ่งระบุแนวทางบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางกายภาพภายในธนาคาร โดยได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง นโยบายดังกล่าวมีขอบเขตครอบคลุมทั้งพนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้มาติดต่อและลูกค้าในทุกสถานที่ตั้งของธนาคาร

เพื่อให้การดูแลความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงามเป็นไปอย่างมีระบบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนจากนายจ้างและลูกจ้าง มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเป็นเลขานุการของคณะ โดยคณะกรรมการฯ มีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านความปลอดภัยที่ได้รับการรายงานจากพนักงาน ปรับปรุงการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงาน เช่น การลดหรือป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพเทียบกับเป้าหมาย คณะกรรมการจะพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและดำเนินงานด้านความปลอดภัยประกอบด้วย แผนกทรัพยากรอาคารและบริการส่วนกลาง แผนกบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการสาขาและสำนักงานขาย

ธนาคารมีการตั้งเป้าหมายอุบัติเหตุเป็นศูนย์และจำนวนวันบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์ ธนาคารดำเนินการตรวจสอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การออกแบบสถานที่ การดูแล สภาพแวดล้อมและการจัดหาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ธนาคารยังใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการปฏิบัติงานโดยจัดอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่พนักงานทุกคน

การบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยอยู่ภายใต้การดูแลระหว่างแผนกความปลอดภัยและแผนกบริหารทรัพยากรบุคคลและพนักงานสัมพันธ์ ทั้งสองหน่วยงานร่วมกันส่งเสริมด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน อีกทั้งมีการกำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัยและใช้ประกอบการพิจารณาการประเมินผลการดำเนินงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ธนาคารมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่เหมาะสม จัดทำแผนการดำเนินงานและเป้าหมายที่ชัดเจน ตลอดจนตรวจประเมินการดำเนินงานด้านความปลอดภัยโดยหน่วยงานภายในและภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ถึงการบริหารจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีการรายงานผลการดำเนินงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานแก่ผู้บริหารระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

งานทุกประเภทจะมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งพบว่ามีงาน 3 ลักษณะที่มีความเสี่ยงในระดับสูง ได้แก่ Call Center ซึ่งต้องสัมผัสกับเสียง ห้องเก็บเอกสารและงานพิมพ์เอกสารซึ่งต้องสัมผัสกับไฮโดรคาร์บอนและสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds) แม้ว่าธนาคารจะมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมความเสี่ยงในพื้นที่ดังกล่าว แต่หากพบว่าพนักงานได้รับสารดังกล่าวเกินกว่าระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด พนักงานจะได้รับการรักษาและตรวจติดตามอาการจนกว่าจะหายเป็นปกติ ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวอีกด้วย

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพในสถานที่ทำงาน


การดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ธนาคารได้จัดสวัสดิการและกำหนดมาตรการดังต่อไปนี้:


การลา

  • ลากิจ จำนวน 10 วันทำงานต่อปี โดยได้รับเงินเดือนเต็ม เพื่อประกอบกิจธุระ เช่น การติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดูแลการเจ็บป่วย หรือกรณีเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว พนักงานแต่งงาน พนักงานรับปริญญา หรือกรณีอื่น ๆ ตามการอนุมัติของหัวหน้างาน
  • ลาพักร้อน จำนวนอย่างน้อย 10 วันต่อปี ไม่รวมวันหยุดราชการ (ขึ้นกับระยะเวลาการทำงาน)
  • ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 30 วันทำงาน
  • สิทธิลาอุปสมบทครั้งเดียวตลอดอายุการทำงาน เป็นเวลาไม่เกิน 120 วัน
  • สิทธิลาเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งเดียวตลอดอายุการทำงาน เป็นเวลาไม่เกิน 45 วัน โดยได้รับค่าจ้าง


การสนับสนุนครอบครัวพนักงาน

  • สิทธิลาก่อนคลอดและหลังคลอดสำหรับพนักงานผู้มีครรภ์รวมกัน ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน
  • สิทธิลาเพื่อไปดูแลภรรยาที่คลอดบุตร ครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง
  • สิทธิลาเพื่อดูแลครอบครัว 10 วันทำงานต่อปี
  • ห้องปั๊มนมที่มีอุปกรณ์สำหรับเก็บนมพร้อมความเป็นส่วนตัว
  • ทุนการศึกษาบุตรพนักงาน มูลค่าทุนสูงสุด 13,000 บาท ต่อปีการศึกษา สำหรับพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปี


สวัสดิการด้านสุขภาพ

  • สถานพยาบาล คลินิกเวชกรรม ให้การดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบันและพยาบาล คลินิกทันตกรรม และแพทย์ทางเลือก ณ สำนักงานใหญ่
  • ห้องฟิตเนส
  • การสื่อสารภายในเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ เช่น การยศาสตร์ (Ergonomics) สุขภาพและโภชนาการ เป็นต้น
  • การตรวจสุขภาพเฉพาะบุคคล เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยินสำหรับกลุ่มพนักงานคอลเซ็นเตอร์ การตรวจสอบสมรรถภาพปอดและการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายสำหรับกลุ่มพนักงานให้ห้องเก็บเอกสารและงานพิมพ์
  • การเผ้าระวังตัวชี้วัด เช่น อุณหภูมิภายในอาคาร ความชื้น แสงสว่าง เสียง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สารเคมี แบคทีเรียในอากาศและโรงอาหาร คุณภาพน้ำดื่ม สารประกอบไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์ระเหยง่ายในพื้นที่เสี่ยง ธนาคารมีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานด้วยตัวชี้วัดเหล่านี้เป็นประจำเพื่อสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานอย่างน้อยปีละครั้งโดยหน่วยงานภายนอก การประเมินนี้เป็นไปตามข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
  • จัด Safety Day และการรณรงค์ด้านความปลอดภัย
  • จัดให้มีการทำงานที่ยืดหยุ่น ทั้งชั่วโมงการทำงานและสถานที่ทำงาน


ความหลากหลายในที่ทำงาน

ธนาคารมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก เหนือสิ่งอื่นใดธนาคารไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติจากปัจจัยด้าน อายุ เพศ รสนิยมทางเพศ สมรรถภาพทางกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ประเทศต้นกำเนิด สัญชาติ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ธนาคารให้คุณค่ากับความแตกต่างของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่มีการประกาศคำแถลงการณ์เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วม ในปี 2562 โดยได้รับการอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะกรรมการธนาคาร ธนาคารได้รายงานข้อมูลด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ พร้อมทั้งปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อส่งเสริมความมุ่งมั่นของธนาคารอยู่เสมอ

หนึ่งในความตั้งใจของธนาคารคือการมีเป้าหมายที่จะรักษาสัดส่วนของผู้หญิงให้มีมากกว่าร้อยละ 40 ในปี 2566 สำหรับพนักงานทั้งหมด และพนักงานแบ่งตามระดับตำแหน่งผู้บริหารทุกระดับ พนักงานระดับปฏิบัติการ รวมถึงกลุ่มตำแหน่งในหน่วยงานที่สร้างรายได้ให้กับธนาคาร และกลุ่มพนักงานที่มีทักษะเกี่ยวกับ สะเต็ม (STEM: Science, Technology, Engineering, Mathematics) นอกจากนี้ยังมีกระบวนการกำหนดค่าตอบแทนและโบนัสโดยไม่คำนึงถึงเพศ และมีการตรวจสอบความเท่าเทียมของสัดส่วนค่าตอบแทนอยู่เสมอ

นอกจากสิทธิในที่ทำงานแล้ว ธนาคารยังกำหนดให้พนักงานทุกคนต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรจรรยาบรรณพนักงาน (Code of Conduct) ผ่านทางออนไลน์ โดยมีการทบทวนปีละ 1 ครั้ง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ และสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถประพฤติตนอย่างเหมาะสมกับลูกค้าและบุคคลอื่น

คำแถลงการณ์เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วม